วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

โขน

โขน


 
 
 
        โขน เป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย ปรับปรุงจากการเล่น 3 ประเภท คือ หนังใหญ่ ชักนาค ดึกดำบรรพ์ และกระบี่กระบอง เรื่องที่ใช้โขนคือ เรื่องรามเกียรติ์ เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นการทำสงคราม ระหว่าง    พระราม กษัตริย์ธรรมิกราชแห่งนครอโยธยา กับ ทศกัณฐ์พญายักษ์แห่งกรุงลงกา
 
        โขน เป็นศิลปะแห่งการเต้น ดังมีคำกล่าวว่าเต้นโขนรำละคร โขนเป็นการแสดงที่คงนำส่วนต่างๆ มา จากการแสดงหลายประเภท เช่น  ท่าต่อสู้จากการรำกระบี่กระบอง  บทพากย์และคำเจรจาจากการเล่นหนังใหญ่   บทร้องและบทรำจากละคร และอาจได้รับท่าเต้นจากกถักกฬิของอินเดีย มีหลักฐานในวรรณคดีที่แสดงว่ามีการเล่นโขนตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและนิยมแสดงโขนจวบจนปัจจุบัน เดิมการแสดงโขนคงเป็นการแสดงที่ไม่มีองค์ประกอบมากนัก อาจมีเพียงการแต่งกายของตัวละครต่าง ๆ กัน และท่าเต้นประกอบดนตรีเท่านั้น ต่อมาเมื่อมีความต้องการของผู้ชมในด้านต่าง ๆ มากขึ้น โขนจึงมีวิวัฒนาการมาเป็นประเภทต่าง ๆ เรื่องของการแสดงโขนนั้นมีที่มาจาก เรื่องรามายณะ ซึ่งเป็นเค้าโคลงที่นำมาแปลจากอินเดียและใช้ชื่อว่า “รามเกียรติ์” เนื่องจากโครงเรื่องยาวมาก    จึงได้มีการแบ่งเรื่องราวออกเป็นตอน ๆ เพื่อสะดวกที่จะนำมาแสดง
 
 
โขนแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
 
 
1. โขนกลางแปลง คือ การแสดงโขนบนพื้นดิน ไม่มีการสร้างโรง ผู้แสดงเล่นกลางสนาม คล้ายเช่นชักนาค   ดึกดำบรรพ์ที่บันทึกไว้ในกฎมณเฑียรบาล การเล่นชักนาคดึกดำบรรพ์เป็นการเล่นตำนานกวนเกษียรสมุทรของพราหมณ์ เล่นในพิธีอินทราภิเษก โขนกลางแปลงส่วนใหญ่เล่นเกี่ยวกับการยกทัพ และการรบระหว่างฝ่ายพระรามและฝ่ายทศกัณฐ์ ดนตรีที่ใช้ประกอบเป็นวงปี่พาทย์อย่างน้อย 2 วง บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ บทที่เล่นส่วนมาก    มีแค่คำพากย์และบทเจรจา
 
 
 
  
2. โขนโรงนอกหรือโขนนั่งราว คือ การแสดงโชนที่แสดงบนโรงมีหลังคา มีราวพาดตามส่วนยาวของโรงสำหรับให้ตัวละครนั่งแทนเตียงซึ่งเพิ่งมีภายหลัง ตัวละครที่จะนั่งราวได้จะต้องเป็นตัวสูงศักดิ์ เช่น พระราม พระลักษณ์ สุครีพ ทศกัณฐ์ ตัวละครฝ่ายหญิง จะมีเตียงให้นั่งต่างหาก ดนตรีประกอบเหมือนโขนกลางแปลง และมีเพียงคำพากย์และบทเจรจาเช่นเดียวกัน
 
 
 
 
3. โขนหน้าจอ มีการปล่อยตัวโขนออกมาเล่นสลับกับการเชิดหนังใหญ่ เรียกกันว่า “หนังติดหัวโขน” ต่อมาเมื่อคนไม่นิยมดูหนังใหญ่จะดูโขนมากกว่าจังปล่อยโขนออกมาเล่นหน้าจอหนังตั้งแต่เย็นจนเลิกจอที่ขึงอยู่ยังคงขึงไว้เป็นพิธี
 
 
 
 
4. โขนโรงใน คือ โขนที่นำเอาศิลปะของละครในมาผสม มีการเต้น บทพากย์ บทเจรจา และเพลงหน้าพาทย์แบบโขนที่มีที่มาแต่เดิม แต่เพิ่มเพลงร้องและมีระบำรำฟ้อนแบบละครใน โขนโรงในเวลาแสดงจะมีเตียงให้ตัวละครนั่ง โดยวางอยู่ 2 ข้างหันหน้า
 
 
 
 
5. โขนฉาก เริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีผู้คิดสร้างฉากประกอบการแสดงโขบทเวทีขึ้น มีการเปลี่ยนฉากตามท้องเรื่อง บทที่แสดงมีการปรับปรุงให้กระชับรวดเร็วทันใจ คล้ายกับละครดึกดำบรรพ์ วิธีแสดงเหมือนโขนโรงในทุกอย่าง มีการขับร้อง มีกระบวนการรำ มีท่าเต้น มีเพลงหน้าพาทย์ตามแบบละครในและโขนโรงใน ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อเรียกศิลปะการแสดงโขนชนิดนี้ว่า “โขนฉาก”
 
 
 
 
คณะโขน ละคร ในสมัยโบราณ
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น