วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ลิเกฮูลู

ลิเกฮูลู

  
เอกสารแผ่นพับ http://www.mediafire.com/?tgbco3xbo3wgdli
     คนไทยนิยมเรียก ลิเกฮูลู หรือจะเรียกว่าลำตัดมลายูก็ได้ เพราะเป็นต้นกำเนินของลำตัดไทย เป็นการแสดงประเภทศิลปะการร้องประกอบดนตรีของคนพื้นเมืองในแถบชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ตลอดจนในเขตประเทศมาเลเซียตอนเหนือ เช่น กลันตัน ไทรบุรี ปาหัง ตรังกานู นิยมกันแพร่หลาย กล่าวโดยทั่วไปการแสดงลิเกฮูลู คล้ายกับ ลำตัดทางภาคกลางของไทย

       รากกำเนิดได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาอิสลาม คือ พวกพ่อค้าชาวเปอร์เซียนอกจากเดินทางเรือเข้ามาค้าขายแล้ว ยังนำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ด้วย ทำให้ดินแดนหมู่เกาะทะเลใต้และปลายแหลมมลายู หรืออินโดนีเซีย มาเลเซีย ปัจจุบันเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งในพิธีทางศาสนาอิสลามมีบทสวด สรรเสริญพระเจ้า ตามปกติเป็นบทขับร้องสำคัญที่ขับร้องกันในวันสำคัญทางศาสนา ในสมัยพระยาเมืองปกครอง ๗ หัวเมืองมลายู เช่น งานเมาลิดหรือวันกำเนิดพระนาบี บทสวดนี้ชาวเปอร์เซียเรียกว่าดีเกร์เมาลิด” (มาจากคำซีเกร์ Zikir ในภาษาอาหรับ) เป็นการขับร้องที่มีเสียงไพเราะน่าฟังมากเรียกกันว่า ละไปหรือซีเกร์มัรฮาบาเป็นการร้องเพลงประกอบการตีกลองรำมะนา ชาวมลายูพื้นเมืองเห็นบทสวดนี้ฟังสนุกแต่ไม่เข้าใจ จึงเอาทำนองมาดัดแปลงพร้อมแต่งเนื้อคำร้องเป็นภาษาพื้นเมืองขึ้นร้องเล่น ก่อน ต่อมาเมื่อมีผู้เห็นว่ามันสนุกฟังไพเราะและคนทั่วไปฟังเข้าใจ จึงพัฒนานำมาขับร้องในที่สาธารณะอย่างเป็นเรื่องเป็นราว มีการแยกเป็น ๒ ฝ่าย พร้อมแต่งกายให้สวยงามและร้องโต้ตอบแก้กันไปมา ใช้คารมเสียดสีปฏิภาณ ไหวพริบโต้กัน หรือพูดเรื่องตลกโปกฮาหรือประยุกต์ให้เข้าเรื่องกับงานแสดงในโอกาสต่างๆ มีเครื่องดนตรีตีประโคมในที่สุดจึงได้กลายมาเป็น
ดีเกฮูลู

              คำว่าฮูลูแปลว่า ทางเหนือน้ำ (ฝ่ายใต้น้ำเรียก ฮิเล) คือ ท้องที่เหนือน้ำ (ต้นน้ำ) ในที่นี้หมายถึง ต้นกำเนิดของแม่น้ำปัตตานี คือ แถบอำเภอเบตง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา และอำเภอมายอ จังหวดปัตตานี อันเป็นการบอกให้รู้ว่าแหล่งกำเนิดของลิเกฮูลูพื้นบ้านมาจากท้องที่ดังกล่าว นั่นเอง ซึ่งทางรัฐกะลันตันเรียก ดีเกบารัต” (ลิเกตะวันตก) อันเป็นการยุติต้องกันว่า ดีเกฮูลูมีกำเนิดจากชนบทคนพื้นเมืองในย่านนี้อย่างแท้จริง

   การแต่งกาย พวกคณะลิเกฮูลูโดยมากเป็นผู้ชาย คณะที่เป็นผู้หญิงไม่นิยม การแต่งกายเดิมใช้เครื่องแต่งกายพื้นเมืองธรรมดา ต่อมามีการประกวดประชันกัน แต่ละคณะจึงคิดขุดเครื่องแบบขึ้นเอง เช่น ลูกคู่แต่งชุดขาว คาดผ้าลิลินัง ใส่หมวกหนีบ ลางคณะแต่งใส่เสื้อยืดเป็นทีมพ่นชื่อคณะติดหน้าอก ศีรษะโพกผ้าก็มี ส่วนคนขับร้องกลอนแต่ละฝ่ายใช้ 1-2คน แต่งกายงามเป็นพิเศษ คือ แต่งชุดสลีแน
   
            เครื่องดนตรี มี กลองรำมะนา 2-4 ใบ และฆ้อง 1 วง เป็นหลัก นอกนั้นอาจมีกลองรำมะนาเล็ก และมีลูกแซ็ก (1-2คู่) เขย่าประกอบจังหวะ บางคณะอาจเพิ่มขลุ่ยและเครื่องดนตรีสมัยใหม่อย่างอื่นเข้าไปด้วย เพื่อให้มีบรรยากาศแปลกใหม่และต่างจากฝ่ายตรงข้าม เดิมลูกคู่มี 7-10 คน ใช้วิธีปรบมือ ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นใช้แผ่นโลหะตีแทน เพื่อให้เสียงดังหนักแน่น

         ลักษณะการแสดง ลิเก ฮูลูคณะหนึ่งมีลูกคู่ราว 10 คน ผู้พากษ์ขับร้อง 1-2 คน เวลาเล่นลูกคู่และผู้ร้องขับกลอนจะหันหน้าไปทางผู้ชม ถ้าเป็นการประชันวงจะนั่งเรียงแถวแบ่งเวทีคนละครึ่ง และนั่งหันหน้าไปทางผู้ชมหน้าเวที พวกนักดนตรีจะนั่งอยู่แถวหลังลูกคู่อยู่หน้า การแสดงจะผลัดกันลุกยืนร้องกลอนโต้ตอบกันคนละรอบ ผลัดกันรุก-รับร้องแก้ด้วยคารมเสียดสีกันเป็นที่สนุกสนานสบ อารมณ์ผู้ชม เวลาร้องกลอนดนตรีจะหยุด ทำนองเดียวกับการเล่นลำตัด จังหวะดนตรีมีทั้งช้าและเร็ว คือ ปกติมี ๓ จังหวะ คือ สโลว์ แมมโบร์สโลว์ และจังหวะนาฏศิลป์อินเดีย

  
เอกสารแผ่นพับ http://www.mediafire.com/?tgbco3xbo3wgdli
     คนไทยนิยมเรียก ลิเกฮูลู หรือจะเรียกว่าลำตัดมลายูก็ได้ เพราะเป็นต้นกำเนินของลำตัดไทย เป็นการแสดงประเภทศิลปะการร้องประกอบดนตรีของคนพื้นเมืองในแถบชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ตลอดจนในเขตประเทศมาเลเซียตอนเหนือ เช่น กลันตัน ไทรบุรี ปาหัง ตรังกานู นิยมกันแพร่หลาย กล่าวโดยทั่วไปการแสดงลิเกฮูลู คล้ายกับ ลำตัดทางภาคกลางของไทย


       รากกำเนิดได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาอิสลาม คือ พวกพ่อค้าชาวเปอร์เซียนอกจากเดินทางเรือเข้ามาค้าขายแล้ว ยังนำศาสนาอิสลามเข้ามาเผยแพร่ด้วย ทำให้ดินแดนหมู่เกาะทะเลใต้และปลายแหลมมลายู หรืออินโดนีเซีย มาเลเซีย ปัจจุบันเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามซึ่งในพิธีทางศาสนาอิสลามมีบทสวด สรรเสริญพระเจ้า ตามปกติเป็นบทขับร้องสำคัญที่ขับร้องกันในวันสำคัญทางศาสนา ในสมัยพระยาเมืองปกครอง ๗ หัวเมืองมลายู เช่น งานเมาลิดหรือวันกำเนิดพระนาบี บทสวดนี้ชาวเปอร์เซียเรียกว่าดีเกร์เมาลิด” (มาจากคำซีเกร์ Zikir ในภาษาอาหรับ) เป็นการขับร้องที่มีเสียงไพเราะน่าฟังมากเรียกกันว่า ละไปหรือซีเกร์มัรฮาบาเป็นการร้องเพลงประกอบการตีกลองรำมะนา ชาวมลายูพื้นเมืองเห็นบทสวดนี้ฟังสนุกแต่ไม่เข้าใจ จึงเอาทำนองมาดัดแปลงพร้อมแต่งเนื้อคำร้องเป็นภาษาพื้นเมืองขึ้นร้องเล่น ก่อน ต่อมาเมื่อมีผู้เห็นว่ามันสนุกฟังไพเราะและคนทั่วไปฟังเข้าใจ จึงพัฒนานำมาขับร้องในที่สาธารณะอย่างเป็นเรื่องเป็นราว มีการแยกเป็น ๒ ฝ่าย พร้อมแต่งกายให้สวยงามและร้องโต้ตอบแก้กันไปมา ใช้คารมเสียดสีปฏิภาณ ไหวพริบโต้กัน หรือพูดเรื่องตลกโปกฮาหรือประยุกต์ให้เข้าเรื่องกับงานแสดงในโอกาสต่างๆ มีเครื่องดนตรีตีประโคมในที่สุดจึงได้กลายมาเป็น
ดีเกฮูลู

              คำว่าฮูลูแปลว่า ทางเหนือน้ำ (ฝ่ายใต้น้ำเรียก ฮิเล) คือ ท้องที่เหนือน้ำ (ต้นน้ำ) ในที่นี้หมายถึง ต้นกำเนิดของแม่น้ำปัตตานี คือ แถบอำเภอเบตง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา และอำเภอมายอ จังหวดปัตตานี อันเป็นการบอกให้รู้ว่าแหล่งกำเนิดของลิเกฮูลูพื้นบ้านมาจากท้องที่ดังกล่าว นั่นเอง ซึ่งทางรัฐกะลันตันเรียก ดีเกบารัต” (ลิเกตะวันตก) อันเป็นการยุติต้องกันว่า ดีเกฮูลูมีกำเนิดจากชนบทคนพื้นเมืองในย่านนี้อย่างแท้จริง

   การแต่งกาย พวกคณะลิเกฮูลูโดยมากเป็นผู้ชาย คณะที่เป็นผู้หญิงไม่นิยม การแต่งกายเดิมใช้เครื่องแต่งกายพื้นเมืองธรรมดา ต่อมามีการประกวดประชันกัน แต่ละคณะจึงคิดขุดเครื่องแบบขึ้นเอง เช่น ลูกคู่แต่งชุดขาว คาดผ้าลิลินัง ใส่หมวกหนีบ ลางคณะแต่งใส่เสื้อยืดเป็นทีมพ่นชื่อคณะติดหน้าอก ศีรษะโพกผ้าก็มี ส่วนคนขับร้องกลอนแต่ละฝ่ายใช้ 1-2คน แต่งกายงามเป็นพิเศษ คือ แต่งชุดสลีแน
   
            เครื่องดนตรี มี กลองรำมะนา 2-4 ใบ และฆ้อง 1 วง เป็นหลัก นอกนั้นอาจมีกลองรำมะนาเล็ก และมีลูกแซ็ก (1-2คู่) เขย่าประกอบจังหวะ บางคณะอาจเพิ่มขลุ่ยและเครื่องดนตรีสมัยใหม่อย่างอื่นเข้าไปด้วย เพื่อให้มีบรรยากาศแปลกใหม่และต่างจากฝ่ายตรงข้าม เดิมลูกคู่มี 7-10 คน ใช้วิธีปรบมือ ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นใช้แผ่นโลหะตีแทน เพื่อให้เสียงดังหนักแน่น

         ลักษณะการแสดง ลิเก ฮูลูคณะหนึ่งมีลูกคู่ราว 10 คน ผู้พากษ์ขับร้อง 1-2 คน เวลาเล่นลูกคู่และผู้ร้องขับกลอนจะหันหน้าไปทางผู้ชม ถ้าเป็นการประชันวงจะนั่งเรียงแถวแบ่งเวทีคนละครึ่ง และนั่งหันหน้าไปทางผู้ชมหน้าเวที พวกนักดนตรีจะนั่งอยู่แถวหลังลูกคู่อยู่หน้า การแสดงจะผลัดกันลุกยืนร้องกลอนโต้ตอบกันคนละรอบ ผลัดกันรุก-รับร้องแก้ด้วยคารมเสียดสีกันเป็นที่สนุกสนานสบ อารมณ์ผู้ชม เวลาร้องกลอนดนตรีจะหยุด ทำนองเดียวกับการเล่นลำตัด จังหวะดนตรีมีทั้งช้าและเร็ว คือ ปกติมี ๓ จังหวะ คือ สโลว์ แมมโบร์สโลว์ และจังหวะนาฏศิลป์อินเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น