วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

รำกลองยาว

รำกลองยาว

รำกลองยาว



  

ประวัติความเป็นมา

     การเล่นเถิดเทิง มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นของพม่านิยมเล่นกันมาก่อน  เมื่อครั้งพม่ามาทำสงครามกับไทย  ในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานด้วยการเล่น ต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น “กลองยาว”  พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง  ยังมีเพลงดนตรีเพลงหนึ่งซึ่งดนตรีไทยนำมาใช้บรรเลง  มีทำนองเป็นเพลงพม่า  เรียกกันมาแต่เดิมว่า  เพลงพม่ากลองยาว  ต่อมาได้มีผู้ปรับเป็นเพลงระบำ  กำหนดให้ผู้รำแต่งตัวใส่เสื้อนุ่งโสร่งตา  ศีรษะโพกผ้าสีชมพู (หรือสีอื่น ๆ บ้างตามแต่จะให้สีสลับกัน  เห็นสวยอย่างแบบระบำ)มือถือขวานออกมาร่ายรำเข้ากับจังหวะเพลงที่กล่าวนี้  จึงเรียกเพลงนี้กันอีกชื่อหนึ่งว่า  เพลงพม่ารำขวาน

     อีกความหนึ่งมีผู้กล่าวว่า การเล่นเทิงบ้องกลองยาวนี้  เพิ่งมีเข้ามาในเมืองไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4  กรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง  กล่าวคือ  มีพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาในรัชกาลนั้น  ยังมีบทร้องกราวรำยกทัพพม่า  ในการแสดงละครเรื่องพระอภัยมณี  ตอน  เก้าทัพ ซึ่งนิยมเล่นกันมาแต่ก่อน  สังเกตดูก็เป็นตำนานอยู่บ้างแล้ว  คือ  ร้องกันว่า

          ทุงเล ฯ     ทีนี้จะเห่พม่าใหม่

          ตกมาเมืองไทย    มาเป็นผู้ใหญ่ตีกลองยาว

          ตีว่องตีไวตีได้จังหวะ   ทีนี้จะกะเป็นเพลงกราว

          เลื่องชื่อลือฉาว    ตีกลองยาวสลัดได ๆ



     เมื่อชาวไทยเราเห็นเป็นการละเล่นที่สนุกสนานและเล่นได้ง่าย  ก็เลยนิยมเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง  สืบมาจนตราบทุกวันนี้  กลองยาวที่เล่นกันในวงหนึ่ง ๆ มีเล่นกันหลายลูกมีสายสะพายเฉวียงป่าของผู้ตี  ลักษณะรูปร่างของกลองยาวขึงหนังด้านเดียวอีกข้างหนึ่งเป็นหางยาว  บานปลายเหมือนกับกลองยาวของชาวเชียงใหม่  แต่กลองยาวของชาวเชียงใหม่เป็นกลองยาวจริง ๆ ยาวถึงประมาณ  2 วา  ส่วนกลองยาวอย่างที่เล่นกันนี้  ยาวเพียงประมาณ  3  ศอกเท่านั้น  ซึ่งสั้นกว่าของเชียงใหม่มาก  ทางภาคอีสานเรียกกลองยาวชนิดนี้ว่า  กลองหาง

     กลองยาวแบบนนี้ของพม่าเรียกว่า  โอสิ มีลักษณะคล้ายคลึงกับของชาวไทยอาหมในแคว้นอัสสัม  เว้นแต่ของชาวไทยอาหมรูปร่างคล้ายตะโพน คือ หัวท้ายเล็ก กลางป่องใบเล็กกว่าตะโพน  ขึ้นหนังทั้งสองข้าง  ผูกสายสะพายตีได้  ตามที่เห็นวิธีเล่นทั้งกลองยาวของพม่าและกลองของชาวไทยอาหม  ดูวิธีการเล่นเป็นแบบเดียวกัน  อาจเลียนแบบการเล่นไปจากกันก็ได้

     เมื่อรัฐบาลไทยมอบให้คณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรไปแสดงเพื่อเชื่อมสัมพันธ ไมตรี ณ นครย่างกุ้งและมัณฑเลย์  ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน  พ.ศ.2509  ทางรัฐบาลพม่าได้จัดนักโบราณคดีพม่าผู้หนึ่งเป็นผู้นำชมพิพิธภัณฑ์สถานและ โบราณสถานเรื่องกลองยาวได้กล่าวว่า  พม่าได้กลองยาวมาจากไทยใหญ่อีกต่อหนึ่ง

     การละเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกตามเสียงกลองยาว กล่าวคือ  มีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ  หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด-เทิง-บ้อง-เทิง-บ้อง” ก็เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป  เพื่อให้ต่างกับการเล่นอย่างอื่น



ลักษณะการแสดง

     ก่อนเล่นมีการทำพิธีไหว้ครู มีดอกไม้ธูปเทียน เหล้าขาว บุหรี่และเงินค่ายกครู  12 บาท  การไหว้ครูใช้การขับเสภา เมื่อไหว้ครูแล้วจะโห่ขึ้น 3 ลา แล้วเริ่มแสดง  โดยนักดนตรีประกอบเริ่มบรรเลงผู้ร่ายรำก็จะเดินและร่ายรำไปตามจังหวะกลอง มีท่าร่ายรำทั้งหมด  33 ท่า  ท่าที่หวาดเสียวและตื่นเต้นมากที่สุดก็เห็นจะเป็นท่าที่  30 - 31  คือท่าที่มีการต่อกลองขึ้นไป  3  ใบ  ให้ผู้แสดงคนหนึ่งขึ้นไปยืนบนกลองใบที่ 3 แล้วควงกลอง  และคาบกลอง ซึ่งผู้แสดงต้องใช้ความสามารพิเศษเฉพาะตัว  ผู้ตีกลองยาวบางพวกก็ตีหกหัวกัน แลบลิ้นปลิ้นตา  กลอกหน้ายักคิ้ว  ยักคอไปพลาง  และถ้าผู้ตีคนใดตีได้จนถึงกับถองหน้ากลองด้วยศอก โขกด้วยคาง   กระทุ้งด้วยเข่า โหม่งด้วยเข่า  โหม่งด้วยหัว  เล่นเอาผู้ตีคลุกฝุ่นคลุกดินขะมุกขะมอมไปทั้งตัวสุดแต่จะให้เสียงกลองยาวดัง ขึ้นได้เป็นสนุกมาก  และนิยมกันว่าผู้ตีกลองยาวเก่งมากผู้เล่นก็ภูมิใจ  นอกจากนั้นก็มีคนรำแต่งตัวต่าง ๆ สุดแต่สมัครใจ  คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไปร่วมรำด้วยก็ได้เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน  ใครจะสมัครเข้าร่วมเล่นร่วมรำด้วยก็ได้  บางคนก็แต่งตัวพิสดาร  ผัดหน้าทาตัวด้วยแป้งด้วยเขม่าดินหม้อ  หน้าตาเนื้อตัวดำด่าง สุดแต่จะให้คนดูรู้สึกทึ่งและขบขัน  ออกมารำเข้ากับจังหวะเทิงบ้อง  แต่ที่แต่งตัวงาม ๆ เล่นและรำกันเรียบ ๆ น่าดูก็มี  เช่นที่ปรับปรุงขึ้นเล่นโดยศิลปินของกรมศิลปากร  และมีผู้นำแบบอย่างไปเล่นแพร่หลายอยู่ในสมัยนี้

     เพราะฉะนั้นการเล่น   ย่อมเป็นส่วนของวัฒนธรรมที่แสดงออกมา  จะเป็นวัฒนธรรมอยู่ในระดับใดก็แล้วแต่สถานที่และโอกาสเหมาะกับถิ่นหนึ่งแต่ ไม่เหมาะกับอีกถิ่นหนึ่งก็ได้  ถ้าปรับให้มีลักษณะเหมือนกันตลอดทุกถิ่น  ก็ไม่เป็นความเจริญในทางวัฒนธรรม ความเจริญของวัฒนธรรมอยู่ที่แปลก ๆ ต่าง ๆ กัน  แต่ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในส่วนรวม  และรู้จักดัดแปลงแก้ไขให้เหมาหะกับความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นตามกาลสมัย  แต่ไม่ทำลายลักษณะอันเป็นเอกเทศของแต่ละถิ่นให้สูญไป  เปรียบเหมือนเป็นคนไทยด้วยกัน



โอกาสที่แสดง

     ประเพณีเล่น  “เถิดเทิง”หรือ “เทิงบ้องกลองยาว”  ในเมืองไทยนั้น  มักนิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรือในงานแห่งแหน ซึ่งต้องเดินเคลื่อนขบวน  เช่น ในงานแห่นาค  แห่พระ และแห่กฐิน  เป็นต้น  เคลื่อนไปกับขบวน  พอถึงที่ตรงไหนเห็นว่ามีลานกว้างหรือเป็นที่เหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นรำกันเสีย พักหนึ่ง  แล้วก็เคลื่อนขบวนต่อไปใหม่แล้วก็มาหยุดตั้งวงเล่นและรำกันอีก  การเล่นเถิดเทิงของกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่  จะแต่งตัวแบบไทย ๆ แต่ยังเป็นประเพณีดั้งเดิม  คือยังใช้โพกหัวด้วยผ้าแพรบาง ๆ ตามแบบพม่าอยู่  นอกจากนี้  ก็เพิ่มผู้รำฝ่ายหญิงแต่งตัวงดงามแบบหญิงไทย  กำหนดแบบแผนลีลาท่ารำ  โดยกำหนดให้มีกลองรำ  กลองยืน  เป็นต้น



     กลองรำ  หมายถึง  ผู้ที่จะแสดงลวดลายในการตีบทพลิกแพลงต่าง ๆ เช่น  ถองหน้า  กลองด้วยศอก  กระทุ้งด้วยเข่า  เป็นต้น

     กลองยืน หมายถึง ผู้ตีกลองยืนจังหวะให้การแสดงดำเนินไปอย่างเรียบร้อย ในขณะที่กลองรำวาดลวดลายรำต้อนนางรำอยู่ไปมา

     การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว  ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อนถึงจะแสดงได้เป็นระเบียบและน่าดู  คนดูจะได้เห็นความงามและได้รับความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมวงเล่นด้วยก็ตาม 



การแต่งกาย

     ในสมัยปัจจุบันกรมศิลปากรได้ปรับปรุงการแต่งกายและกำหนดไว้เป็นแบบฉบับ คือ

          1. ชาย  นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง  สวมเสื้อคอกลม  แขนสั้น  เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว

          2. หญิง  นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด  ผ่าอกหน้า  ห่มสไบทับเสื้อ  สวมสร้อยตัวคาดเข็มขัดทับนอกเสื้อ  สร้อยคอ  และต่างหู  ปล่อยผมทัดดอกไม้ด้านซ้าย



ดนตรีที่ใช้

     เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นก็มีกลองยาว ( เล่นกันหลาย ๆ ลูกก็ได้) เครื่องประกอบจังหวะ มี ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ โหม่ง  มีประมาณ  4  คน  คนตีกลองยืน 2 คน  คนตีกลองรำ  2  คน และหญิงที่รำล่ออีก 2 คน



สถานที่แสดง

     แสดงในบริเวณพื้นลานกว้าง ๆ  หรือบนเวที



จำนวนผู้แสดง

     จำนวนผู้แสดงจะมีเป็นชุดราว 10 คน เป็นอย่างน้อยมีผู้บรรเลงดนตรี 4 คน  คนตีกลองยืน 2 คน  คนตีกลองรำ  2  คน และหญิงที่รำล่ออีก 2 คน 

     เวลาแสดงพวกตีเครื่องประกอบจังจะทำหน้าร้องประกอบเร่งเร้าอารมณ์ให้สนุกสนาน ไปในขณะตีด้วย  คำที่ใช้ร้องเดิมมีหลายอย่าง  แต่ที่ใช้ร้องขณะนี้มีอยู่ไม่กี่อย่าง ขอยกตัวอย่างบทร้องมาให้ดูดังนี้

          1)  มาแล้วโหวย  มาแล้ววา  มาแต่ของเขา  ของเราไม่มา ตะละล้า  หรือมาแล้วโหวย  มาแล้ววา  มาแต่ป่า  รอยตีนโตโต

          2)  ต้อนเข้าไว้  ต้อนเข้าไว้ เอาไปบ้านเรา  บ้านเราคนจนไม่มีคนหุงข้าว  ตะละล้า  หรือต้อนเข้าไว้  ต้อนเข้าไว้  เอาไปบ้านเรา  พ่อก็แก่แม่ก็เฒ่า  เอาไปหุงข้าวให้พวกเรากิน  ตะละล้า

          3)ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว  ใครมีลูกสาว  มาแลกลูกเขย  เอาวะ  เอาเหวย  ลูกเขยกลองยาว  ตะละล้า

     

     แต่งเนื่องจากคนไทยเรามีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอนจึงมักย้ายถ่ายเทการร้องให้แปลกออกไปหรือให้พิลึกพิลั่นเล่นตามอารมณ์ เช่น

          “ใครมีมะกรูด  มาแลกมะนาว”  แล้วแทนที่จะร้องแบบเดิมก็ร้องกลับไปมาว่า

          “ใครมีมะนาว  มาแลกมะกรูด”   แล้วย้ำว่า  “มะกรูด ๆ ๆ ๆ มะนาว ๆ ๆ ๆ”  ดังนี้ เป็นต้น

รำกลองยาว



  

ประวัติความเป็นมา

     การเล่นเถิดเทิง มีผู้สันนิษฐานว่าเป็นของพม่านิยมเล่นกันมาก่อน  เมื่อครั้งพม่ามาทำสงครามกับไทย  ในสมัยกรุงธนบุรี หรือสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์  เวลาพักรบพวกทหารพม่าก็เล่นสนุกสนานด้วยการเล่น ต่าง ๆ ซึ่งทหารพม่าบางพวกก็เล่น “กลองยาว”  พวกไทยเราได้เห็นก็จำมาเล่นกันบ้าง  ยังมีเพลงดนตรีเพลงหนึ่งซึ่งดนตรีไทยนำมาใช้บรรเลง  มีทำนองเป็นเพลงพม่า  เรียกกันมาแต่เดิมว่า  เพลงพม่ากลองยาว  ต่อมาได้มีผู้ปรับเป็นเพลงระบำ  กำหนดให้ผู้รำแต่งตัวใส่เสื้อนุ่งโสร่งตา  ศีรษะโพกผ้าสีชมพู (หรือสีอื่น ๆ บ้างตามแต่จะให้สีสลับกัน  เห็นสวยอย่างแบบระบำ)มือถือขวานออกมาร่ายรำเข้ากับจังหวะเพลงที่กล่าวนี้  จึงเรียกเพลงนี้กันอีกชื่อหนึ่งว่า  เพลงพม่ารำขวาน

     อีกความหนึ่งมีผู้กล่าวว่า การเล่นเทิงบ้องกลองยาวนี้  เพิ่งมีเข้ามาในเมืองไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4  กรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง  กล่าวคือ  มีพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาในรัชกาลนั้น  ยังมีบทร้องกราวรำยกทัพพม่า  ในการแสดงละครเรื่องพระอภัยมณี  ตอน  เก้าทัพ ซึ่งนิยมเล่นกันมาแต่ก่อน  สังเกตดูก็เป็นตำนานอยู่บ้างแล้ว  คือ  ร้องกันว่า

          ทุงเล ฯ     ทีนี้จะเห่พม่าใหม่

          ตกมาเมืองไทย    มาเป็นผู้ใหญ่ตีกลองยาว

          ตีว่องตีไวตีได้จังหวะ   ทีนี้จะกะเป็นเพลงกราว

          เลื่องชื่อลือฉาว    ตีกลองยาวสลัดได ๆ



     เมื่อชาวไทยเราเห็นเป็นการละเล่นที่สนุกสนานและเล่นได้ง่าย  ก็เลยนิยมเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง  สืบมาจนตราบทุกวันนี้  กลองยาวที่เล่นกันในวงหนึ่ง ๆ มีเล่นกันหลายลูกมีสายสะพายเฉวียงป่าของผู้ตี  ลักษณะรูปร่างของกลองยาวขึงหนังด้านเดียวอีกข้างหนึ่งเป็นหางยาว  บานปลายเหมือนกับกลองยาวของชาวเชียงใหม่  แต่กลองยาวของชาวเชียงใหม่เป็นกลองยาวจริง ๆ ยาวถึงประมาณ  2 วา  ส่วนกลองยาวอย่างที่เล่นกันนี้  ยาวเพียงประมาณ  3  ศอกเท่านั้น  ซึ่งสั้นกว่าของเชียงใหม่มาก  ทางภาคอีสานเรียกกลองยาวชนิดนี้ว่า  กลองหาง

     กลองยาวแบบนนี้ของพม่าเรียกว่า  โอสิ มีลักษณะคล้ายคลึงกับของชาวไทยอาหมในแคว้นอัสสัม  เว้นแต่ของชาวไทยอาหมรูปร่างคล้ายตะโพน คือ หัวท้ายเล็ก กลางป่องใบเล็กกว่าตะโพน  ขึ้นหนังทั้งสองข้าง  ผูกสายสะพายตีได้  ตามที่เห็นวิธีเล่นทั้งกลองยาวของพม่าและกลองของชาวไทยอาหม  ดูวิธีการเล่นเป็นแบบเดียวกัน  อาจเลียนแบบการเล่นไปจากกันก็ได้

     เมื่อรัฐบาลไทยมอบให้คณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรไปแสดงเพื่อเชื่อมสัมพันธ ไมตรี ณ นครย่างกุ้งและมัณฑเลย์  ระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน  พ.ศ.2509  ทางรัฐบาลพม่าได้จัดนักโบราณคดีพม่าผู้หนึ่งเป็นผู้นำชมพิพิธภัณฑ์สถานและ โบราณสถานเรื่องกลองยาวได้กล่าวว่า  พม่าได้กลองยาวมาจากไทยใหญ่อีกต่อหนึ่ง

     การละเล่นประเภทนี้ว่า เถิดเทิง เทิงบ้องนั้น คงเรียกตามเสียงกลองยาว กล่าวคือ  มีเสียงเมื่อเริ่มตีเป็นจังหวะ  หูคนไทยได้ยินเป็นว่า “เถิด-เทิง-บ้อง-เทิง-บ้อง” ก็เลยเรียกตามเสียงที่ได้ยินว่าเถิดเทิง หรือเทิงบ้องกลองยาวตามกันไป  เพื่อให้ต่างกับการเล่นอย่างอื่น



ลักษณะการแสดง

     ก่อนเล่นมีการทำพิธีไหว้ครู มีดอกไม้ธูปเทียน เหล้าขาว บุหรี่และเงินค่ายกครู  12 บาท  การไหว้ครูใช้การขับเสภา เมื่อไหว้ครูแล้วจะโห่ขึ้น 3 ลา แล้วเริ่มแสดง  โดยนักดนตรีประกอบเริ่มบรรเลงผู้ร่ายรำก็จะเดินและร่ายรำไปตามจังหวะกลอง มีท่าร่ายรำทั้งหมด  33 ท่า  ท่าที่หวาดเสียวและตื่นเต้นมากที่สุดก็เห็นจะเป็นท่าที่  30 - 31  คือท่าที่มีการต่อกลองขึ้นไป  3  ใบ  ให้ผู้แสดงคนหนึ่งขึ้นไปยืนบนกลองใบที่ 3 แล้วควงกลอง  และคาบกลอง ซึ่งผู้แสดงต้องใช้ความสามารพิเศษเฉพาะตัว  ผู้ตีกลองยาวบางพวกก็ตีหกหัวกัน แลบลิ้นปลิ้นตา  กลอกหน้ายักคิ้ว  ยักคอไปพลาง  และถ้าผู้ตีคนใดตีได้จนถึงกับถองหน้ากลองด้วยศอก โขกด้วยคาง   กระทุ้งด้วยเข่า โหม่งด้วยเข่า  โหม่งด้วยหัว  เล่นเอาผู้ตีคลุกฝุ่นคลุกดินขะมุกขะมอมไปทั้งตัวสุดแต่จะให้เสียงกลองยาวดัง ขึ้นได้เป็นสนุกมาก  และนิยมกันว่าผู้ตีกลองยาวเก่งมากผู้เล่นก็ภูมิใจ  นอกจากนั้นก็มีคนรำแต่งตัวต่าง ๆ สุดแต่สมัครใจ  คนดูคนใดรู้สึกสนุกจะเข้าไปร่วมรำด้วยก็ได้เพราะเป็นการเล่นอย่างชาวบ้าน  ใครจะสมัครเข้าร่วมเล่นร่วมรำด้วยก็ได้  บางคนก็แต่งตัวพิสดาร  ผัดหน้าทาตัวด้วยแป้งด้วยเขม่าดินหม้อ  หน้าตาเนื้อตัวดำด่าง สุดแต่จะให้คนดูรู้สึกทึ่งและขบขัน  ออกมารำเข้ากับจังหวะเทิงบ้อง  แต่ที่แต่งตัวงาม ๆ เล่นและรำกันเรียบ ๆ น่าดูก็มี  เช่นที่ปรับปรุงขึ้นเล่นโดยศิลปินของกรมศิลปากร  และมีผู้นำแบบอย่างไปเล่นแพร่หลายอยู่ในสมัยนี้

     เพราะฉะนั้นการเล่น   ย่อมเป็นส่วนของวัฒนธรรมที่แสดงออกมา  จะเป็นวัฒนธรรมอยู่ในระดับใดก็แล้วแต่สถานที่และโอกาสเหมาะกับถิ่นหนึ่งแต่ ไม่เหมาะกับอีกถิ่นหนึ่งก็ได้  ถ้าปรับให้มีลักษณะเหมือนกันตลอดทุกถิ่น  ก็ไม่เป็นความเจริญในทางวัฒนธรรม ความเจริญของวัฒนธรรมอยู่ที่แปลก ๆ ต่าง ๆ กัน  แต่ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในส่วนรวม  และรู้จักดัดแปลงแก้ไขให้เหมาหะกับความเป็นอยู่ของแต่ละท้องถิ่นตามกาลสมัย  แต่ไม่ทำลายลักษณะอันเป็นเอกเทศของแต่ละถิ่นให้สูญไป  เปรียบเหมือนเป็นคนไทยด้วยกัน



โอกาสที่แสดง

     ประเพณีเล่น  “เถิดเทิง”หรือ “เทิงบ้องกลองยาว”  ในเมืองไทยนั้น  มักนิยมเล่นกันในงานตรุษ งานสงกรานต์ หรือในงานแห่งแหน ซึ่งต้องเดินเคลื่อนขบวน  เช่น ในงานแห่นาค  แห่พระ และแห่กฐิน  เป็นต้น  เคลื่อนไปกับขบวน  พอถึงที่ตรงไหนเห็นว่ามีลานกว้างหรือเป็นที่เหมาะก็หยุดตั้งวงเล่นรำกันเสีย พักหนึ่ง  แล้วก็เคลื่อนขบวนต่อไปใหม่แล้วก็มาหยุดตั้งวงเล่นและรำกันอีก  การเล่นเถิดเทิงของกรมศิลปากรปรับปรุงใหม่  จะแต่งตัวแบบไทย ๆ แต่ยังเป็นประเพณีดั้งเดิม  คือยังใช้โพกหัวด้วยผ้าแพรบาง ๆ ตามแบบพม่าอยู่  นอกจากนี้  ก็เพิ่มผู้รำฝ่ายหญิงแต่งตัวงดงามแบบหญิงไทย  กำหนดแบบแผนลีลาท่ารำ  โดยกำหนดให้มีกลองรำ  กลองยืน  เป็นต้น



     กลองรำ  หมายถึง  ผู้ที่จะแสดงลวดลายในการตีบทพลิกแพลงต่าง ๆ เช่น  ถองหน้า  กลองด้วยศอก  กระทุ้งด้วยเข่า  เป็นต้น

     กลองยืน หมายถึง ผู้ตีกลองยืนจังหวะให้การแสดงดำเนินไปอย่างเรียบร้อย ในขณะที่กลองรำวาดลวดลายรำต้อนนางรำอยู่ไปมา

     การเล่นเถิดเทิงแบบนี้มีมาตรฐานตายตัว  ผู้เล่นทั้งหมดต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อนถึงจะแสดงได้เป็นระเบียบและน่าดู  คนดูจะได้เห็นความงามและได้รับความสนุกสนานแม้จะไม่ได้ร่วมวงเล่นด้วยก็ตาม 



การแต่งกาย

     ในสมัยปัจจุบันกรมศิลปากรได้ปรับปรุงการแต่งกายและกำหนดไว้เป็นแบบฉบับ คือ

          1. ชาย  นุ่งกางเกงขายาวครึ่งแข้ง  สวมเสื้อคอกลม  แขนสั้น  เหนือศอก มีผ้าโพกศีรษะและผ้าคาดเอว

          2. หญิง  นุ่งผ้าซิ่นมีเชิงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อแขนกระบอกคอปิด  ผ่าอกหน้า  ห่มสไบทับเสื้อ  สวมสร้อยตัวคาดเข็มขัดทับนอกเสื้อ  สร้อยคอ  และต่างหู  ปล่อยผมทัดดอกไม้ด้านซ้าย



ดนตรีที่ใช้

     เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นก็มีกลองยาว ( เล่นกันหลาย ๆ ลูกก็ได้) เครื่องประกอบจังหวะ มี ฉิ่ง  ฉาบ  กรับ โหม่ง  มีประมาณ  4  คน  คนตีกลองยืน 2 คน  คนตีกลองรำ  2  คน และหญิงที่รำล่ออีก 2 คน



สถานที่แสดง

     แสดงในบริเวณพื้นลานกว้าง ๆ  หรือบนเวที



จำนวนผู้แสดง

     จำนวนผู้แสดงจะมีเป็นชุดราว 10 คน เป็นอย่างน้อยมีผู้บรรเลงดนตรี 4 คน  คนตีกลองยืน 2 คน  คนตีกลองรำ  2  คน และหญิงที่รำล่ออีก 2 คน 

     เวลาแสดงพวกตีเครื่องประกอบจังจะทำหน้าร้องประกอบเร่งเร้าอารมณ์ให้สนุกสนาน ไปในขณะตีด้วย  คำที่ใช้ร้องเดิมมีหลายอย่าง  แต่ที่ใช้ร้องขณะนี้มีอยู่ไม่กี่อย่าง ขอยกตัวอย่างบทร้องมาให้ดูดังนี้

          1)  มาแล้วโหวย  มาแล้ววา  มาแต่ของเขา  ของเราไม่มา ตะละล้า  หรือมาแล้วโหวย  มาแล้ววา  มาแต่ป่า  รอยตีนโตโต

          2)  ต้อนเข้าไว้  ต้อนเข้าไว้ เอาไปบ้านเรา  บ้านเราคนจนไม่มีคนหุงข้าว  ตะละล้า  หรือต้อนเข้าไว้  ต้อนเข้าไว้  เอาไปบ้านเรา  พ่อก็แก่แม่ก็เฒ่า  เอาไปหุงข้าวให้พวกเรากิน  ตะละล้า

          3)ใครมีมะกรูด มาแลกมะนาว  ใครมีลูกสาว  มาแลกลูกเขย  เอาวะ  เอาเหวย  ลูกเขยกลองยาว  ตะละล้า

     

     แต่งเนื่องจากคนไทยเรามีนิสัยเจ้าบทเจ้ากลอนจึงมักย้ายถ่ายเทการร้องให้แปลกออกไปหรือให้พิลึกพิลั่นเล่นตามอารมณ์ เช่น

          “ใครมีมะกรูด  มาแลกมะนาว”  แล้วแทนที่จะร้องแบบเดิมก็ร้องกลับไปมาว่า

          “ใครมีมะนาว  มาแลกมะกรูด”   แล้วย้ำว่า  “มะกรูด ๆ ๆ ๆ มะนาว ๆ ๆ ๆ”  ดังนี้ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น