วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบำเชียงแสน

ระบำเชียงแสน


        ระบำ เชียงแสน เป็นระบำชุดที่ ๔ ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบศิลปะ และโบราณวัตถุสถานเชียงแสน นักโบราณคดีกำหนดสมัยเชียงแสน  อยู่ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๒๕  ซึ่งได้เผยแพร่ไปทั่วดินแดนภาคเหนือของประเทศไทย  ในสมัยโบราณ

เรียกว่าอาณาจักรลานนา  ต่อมามีนครเชียงใหม่เป็นนครหลวงของอาณาจักร และเป็นศูนย์กลางแห่ง

การศึกษาพระพุทธศาสนาฝ่ายหินยานอันเจริญรุ่งเรือง จนถึงมีพระเถระไทยผู้เป็นนักปราชญ์สามารถ

แต่งตำนาน และคัมภีร์พระพุทธศาสนาเป็นภาษาบาลีขึ้นไว้หลายคัมภีร์ อาทิ คัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์

และมังคลัตถทีปนี เป็นต้น ศิลปะแบบเชียงแสนได้แพร่หลายลงมาตามลุ่มแม่น้ำโขงเข้าไปในพระราชอาณาจักรลาว สมัยที่เรียกว่าลานช้าง หรือกรุงศรีสัตนาคนหุต แล้วแพร่หลายเข้าในประเทศไทยทาง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนด้วยเช่น พระพุทธรูปบางชนิดที่นักโบราณคดีบางท่านบัญญัติเรียกว่า

พระพุทธรูปเชียงแสนแบบลาว หรือพระลาวพุงขาว  ด้วยเหตุนี้ระบำเชียงแสน จึงมีลีลาท่ารำ และ

กระบวนเพลงแบบสำเนียงไทยภาคเหนือ ลาว และแบบไทยภาตะวันออกเฉียงเหนือปนอยู่ด้วย



ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง

        ใช้วงพื้นเมืองภาคเหนือ เครื่องดนตรีประกอบด้วย ปี่จุ่ม แคน สะล้อ ซึง ตะโพน ฉิ่ง ฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย

เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ เพลงเชียงแสน (เที่ยวช้า และเที่ยวเร็ว)






เครื่องแต่งกาย

        เครื่องแต่งกายของระบำเชียงแสน ประกอบด้วย ๑. เสื้อรัดอกสีเนื้อ ๒. เสื้อลูกไม้สีเหลือง ติดริมด้วยแถบผ้าตาดสีทอง ๓. ซิ่นเชิงแบบป้ายข้างแถวหนึ่งสีแดง อีกแถวหนึ่งสีตอง ๔. เครื่องประดับประกอบด้วยเข็มขัดมีเชือกห้อยทิ้งชายพู่ลงมาด้านหน้าทั้งสองข้าง สร้อยคอ ต่างหู กำไลข้อมือ และกำไลข้อเท้า ๕. แต่งทรงผมตั้งกระบังหน้าประดับขดโลหะสีเงิน เกล้าผมมวย ไว้ด้านหลัง ติดดอกกล้วยไม้ข้างหูซ้าย

การแต่งกายระบำเชียงแสน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น