วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติ กฎกติกา กีฬาขี่ม้า


ประวัติ กฎกติกา กีฬาขี่ม้า


ประวัติ

มนุษย์มีความสัมพันธ์กับม้าสูงมาก เพราะเป็นสัตว์ที่สามารถเรียนรู้และตอบสนองมนุษย์ได้หลาย ๆ สิ่งทำให้เกิดความรัก ความประทับใจในความสามารถ ในรูปร่างที่สง่างามและแววตาที่ส่งประกายของความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับมนุษย์รู้จักวิธีการนำม้ามาใช้งานในหลายรูปแบบจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง การทำศึกสงคราม ช่วยในการทำกสิกรรมต่าง ๆ ตลอดจนการขี่ม้าเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นรูปแบบของการแข่งขัน
พ.ศ. 2521 ก่อตั้งสมาพันธ์ขี่ม้าแห่งเอเซีย
พ.ศ. 2525 บรรจุเข้าแข่งขันครั้งแรกในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 9

ประวัติกีฬาขี่ม้าในประเทศไทย 
พ.ศ. 2519 ก่อตั้งสมาคมนักขี่ม้าสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ต่อมาเปลี่ยนเป็นสมาคมขี่ม้าแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2520 เป็นสมาชิกในเครือโอลิมปิก
พ.ศ. 2526 เป็นสมาชิกของสมาพันธ์ขี่ม้านานาชาติ

กฎกติกา

กีฬาขี่ม้าถูกแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ดังนี้คือ
1. Dressage ศิลปการบังคับม้า
2. Show jumping กระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง
3. Eventing อีเว้นติ้ง
4. Driving รถม้า
5. Vaulting ยิมนาสติกบนหลังม้า
6. Endurance การขี่ม้าวิบาก

ในโอลิมปิคเกมส์ กีฬาขี่ม้าถูกยอมรับและบรรจุเพียง 3 ประเภทแรกเท่านั้นสมาคมขี่ม้าแห่งประเทศไทยจึงได้กำหนดให้มีการแข่งขันในเฉพาะ 3 ประเภทแรก ซึ่งได้รับความนิยมกันในหมู่สมาชิกสโมสรต่าง ๆ ฉะนั้นจะขอกล่าว เฉพาะกีฬาประเภทที่มีการแข่งขันกันในเมืองไทยและโอลิมปิกเท่านั้น

1. ศิลปะการบังคับม้า Dressage

ก่อนการแข่งขันผู้เข้าแข่งขันจะไดรับแบบทดสอบที่กำหนดว่า จะต้องทำท่าอะไรบ้าง ในเวลาที่กำหนดให้ เรียกว่าคะกนนจากท่าบังคับ จะมีคะแนนเต็มข้อละ 10 คะแนน สมมุติ 20 ข้อ คือ 200 คะแนน ส่วนที่ 2 คือ คะแนนสะสม ดูจากภาพรวมการแสดงออกของม้าและการขี่เป็นหลัก ตรงนี้มี 4 ข้อตายตัว ข้อละ 10 คะแนน เป็น 40 คะแนน รวมคะแนน 2 ส่วนเป็นคะแนนทั้งหมด 240 คะแนน แพ้ชนะดูจากคะแนนที่ได้รับในแต่ละข้อรวมกัน คะแนนสูงสุด (ใกล้ 240 มากที่สุด) คือผู้ชนะ

2. กระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง Show jumping 

กีฬาขี่ม้าประเภทนี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องหลักอยู่ 3 ส่วนด้วยกันคือ 
1. กรรมการตัดสิน
2. ผู้ออกแบบสนาม (เครื่องกระโดดที่กำหนดวางไว้ในสนามแข่งขันจะถูกเปลี่ยนไปทุกครั้งของการแข่งขัน)
3. นักกีฬาและม้าที่แข่งขัน

ผู้ออกแบบสนามแข่งขันจะเป็นผู้เริ่มออกแบบเครื่องกระโดดชนิดต่าง ๆ ที่จะใช้ทดสอบนักกีฬา และม้า ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 10-12 เครื่อง (รวมทั้งเครื่องต่อเนื่อง) กำหนดความสูง ความกว้างของแต่ละเครื่องตามระดับความสามารถของการแข่งขันนั้น ๆ และทิศทางในการเคลื่อนที่ (เลี้ยวไปเลี้ยวมา ระดับความสามารถน้อยมุมเลี้ยวจะกว้าง ระดับความสามารถสูงมุมเลี้ยวจะแคบทำให้ยากสำหรับการกระโดด) จากนั้นกรรมการตัดสินจะทำการตรวจและรับรองการออกแบบเพื่อให้มั่นใจว่ายุติธรรมและปลอดภัยสำหรับผู้แข่งขัน เมื่อเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะเปิดโอกาสให้นักกีฬาเข้าไปเดินสำรวจทิศทางการเคลื่อนที่ จากจุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุดซึ่งได้ถูกกำหนดระยะทางไว้แล้วและเมื่อพร้อมแล้วการแข่งขันจึงจะเริ่มขึ้นได้

ในกีฬาประเภทนี้คะแนนทุกคนที่ได้รับก่อนการแข่งขันคือ 0 คะแนน ถ้านักกีฬาสามารถกระโดดข้ามเครื่องกีดขวางได้ทุกเครื่องโดยไม่ทำไม้ขวางตก ภายในเวลาที่กำหนดไว้ (วัดระยะทางไว้แล้ว) ก็จะมีคะแนนเป็น 0 คะแนน นั่นคือ คะแนนที่ดีที่สุด เพราะปกติไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถผ่านแบบทดสอบได้โดยไม่มีข้อผิดพลาด สมมติว่าเข้าแข่งขัน 10 คนไม่พลาดเลย 3 คน อีก 7 คนที่เหลือพลาดในแต่ละเครื่องแตกต่างกันออกไป ก็จะมีคะแนนแตกต่างลดกลั่นกันไป โดยจะมีคะแนนติดลบ เช่น -3, -4 หรือ -8 ฉะนั้นการที่ได้คะแนน 0 จึงถือเป็นคะแนนที่ดีที่สุด

ปัจจัยต่อไปที่เกี่ยวข้องในกีฬาประเภทนี้คือ ปัจจัยเวลาที่กำหนดให้ สมมติว่า จากจุดเริ่มต้นถึงจุดสิ้นสุด มีระยะทาง 300 เมตร ถ้ากำหนดให้ใช้ความเร็ว 300 ม./ นาที (60 นาที) นั่นหมายความว่านักกีฬานอกจากจะต้องพยายามไม่ให้มีปัญหาที่เครื่องกระโดดแล้ว จากจุดเริ่มต้นจะต้องผ่านจุดสิ้นสุดให้ได้ภายในเวลา 60 วินาที ถ้าเกินกว่านั้นจะโดนตัดคะแนนวินาทีละ 0.25 คะแนน ยกตัวอย่าง ผู้ขี่ใช้เวลา 64 วินาที คือเกิน 4 วินาที เสียเวลาวินาทีละ 0.25 คะแนน รวมเป็นเสีย 1 คะแนน

ในกรณีที่คะแนนดีที่สุดเท่ากัน จะมีการตัดสินโดยกระโดดรอบชิงชนะเลิศอีกครั้งหนึ่งโดยผู้ออกแบบสนามจะกำหนดจำนวนเครื่องกระโดดให้น้อยลง ทิศทางการเคลื่อนที่จะยากขึ้น ความสูง ความกว้าง จะเพิ่มขึ้นด้วยปัจจัยเวลาที่เกี่ยวข้องคราวนี้ถูกระบุให้เป็นตัวตัดสินแพ้ชนะคือ ในรอบนี้นอกจากจะต้องไม่มีคะแนนเสียแล้วคนที่เวลาเร็วที่สุดคือผู้ชนะนี่เองคือสาเหตุของความตื่นเต้นเร้าใจในกีฬาประเภทนี้คือ

3. อีเว้นติ้ง Eventing

เป็นกีฬาอีกประเภทหนึ่งที่ตื่นเต้นเร้าใจและมีโอกาสแก้ตัวได้ในวันต่อไป เพราะกีฬาประเภทนี้ต้องทดสอบถึง 3 แบบ คือ

ทดสอบด้วย
1. ศิลปะการบังคับม้า
2. ข้ามภูมิประเทศ
3. กระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง 
แล้วเอาคะแนนทั้งหมดมารวมกัน ใครเสียคะแนนน้อยที่สุดคนนั้นเป็นผู้ชนะ ในการแข่งขันวันแรกจะเป็นการแข่งขันศิลปะการบังคับม้า ซึ่งเป็นกากรแข่งขันที่ไม่หนักมากนัก แต่ผู้ขี่ก็ต้องพยายามเก็บคะแนนให้ได้มากที่สุด เพราะเป็นการเก็บคะแนนสะสมไว้ในวันแรก ในวันที่สองของการแข่งขันจะเป็น การแข่งขันข้ามภูมิประเทศ เป็นการแข่งขันความเร็ว และความทรหด โดยแบ่งอกเป็น 4 phase คือ 

Phase A : Roads and Tracks
ซึ่งผู้แข่งขันจะต้องขี่ม้าไปตามเส้นทางที่กำหนดให้ในภูมิประเทศเป็นระยะทางประมาณ 3-6 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับเกรดของผู้แข่งขัน ผู้ขี่จะต้องกะความเร็วในการเดินทางให้ได้ประมาณกิโลเมตร ใน 4 นาที ซึ่งผู้ขี่สามารถใช้ฝีเท้าวิ่งเรียบหรือโขยกสั้นก็ได้ แต่จะต้องระลึกไว้เสมอว่ายังมีการแข่งขันรออยู่อีก 3 Phase

Phase B : Steeplechase
เป็นการแข่งขันในลู่วิ่ง ซึ่งมีเครื่องกีดขวางตั้งไว้เป็นระยะประมาณ 6-8 เครื่อง ซึ่งสิ่งที่สำคัญของ Phase นี้ คือ ผู้แข่งขันจะต้องผ่าน Phase ให้ได้ในเวลาที่กำหนด คือ 640 เมตร / นาที (เร็วมาก)

Phase C : Roads and Tracks อีกครั้ง 
ซึ่งใน Phase นี้จะมีระยะทางยาวกว่าใน Phase A เพื่อเป็นการผ่อนคลายม้า หลังจากวิ่งเร็วมากใน Phase B ปกติระยะทางประมาณ 5-8 กิโลเมตร ในความเร็วที่กำหนดให้เท่ากับ Phase A

Phase D : ข้ามภูมิประเทศ
การขี่ม้าวิบากในภูมิประเทศมีระยะทางประมาณ 4-8 กิโลเมตร จะมีเครื่องกีดขวางตามธรรมชาติเป็นระยะ ตามเส้นทางที่ผู้ออกแบบสนามได้กำหนดไว้ จำนวนเครื่องกีดขวางมีประมาณ 30 หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับเกรดของการแข่งขัน ด้วยความเร็ว 520-570 เมตร/นาที

หลังจากผ่านการแข่งขันในภูมิประเทศอันทรหดในระยะทางประมาณไม่ต่ำกว่า 20-30 กิโลเมตร ในวันต่อไปจะเป็นการแข่งขันกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง ซึ่งก่อนจะแข่งขันในแบบทดสอบนี้ได้ ม้าต้องได้รับการตรวจสุขภาพจากกรรมการตัดสินเสียก่อน เพื่อป้องกันการทารุณสัตว์ เพราะการแข่งขันในภูมิประเทศโอกาสที่ม้าจะได้รับบาดเจ็บมีสูงกว่า การแข่งขันกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง เมื่อรวมเอาคะแนนทั้ง 3 แบบทดสอบแล้วผู้ที่มีคะแนนเสียน้อยที่สุดคือ ผู้ชนะเลิศ

ในปัจจุบันกีฬา Eventing แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ 
1. 3 Day Event ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว
2. 1 Day Event เหมือนกันทั้ง 3 แบบทดสอบ แตกต่างกันตรงที่การทดสอบในภูมิประเทศจะแข่งขันเฉพาะ Phase D เท่านั้น A, B, C ตัดออก การแข่งขันแบบนี้จะทำให้ลดการบอบช้ำของม้าไปได้มาก และสามารถทำให้การแข่งขันได้บ่อยขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น