วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

ประวัติ กรุงเทพมหานคร


ประวัติ กรุงเทพมหานคร








กรุงเทพมหานคร
เป็นเมืองหลวง และเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกอีกด้วย มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ทำให้แบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี โดยกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตารางกิโลเมตร
กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด ซึ่งคำว่า กรุงเทพมหานคร นั้น ยังใช้เป็นคำเรียกสำนักงานปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย ปัจจุบันกรุงเทพมหานครใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารแบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
เนื่องจากประเทศไทยมีบทบาทด้านวัฒนธรรม สมัยนิยม และการบันเทิงมากขึ้นในการเมืองโลก มหาวิทยาลัยลัฟบะระ (Loughborough University) จึงจัดกรุงเทพมหานครว่าเป็นนครโลกระดับอัลฟาลบ กรุงเทพมหานครมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งวิมานเมฆและวัดต่าง ๆ ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 10 ล้านคนในแต่ละปี นับเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากที่สุดรองแต่เพียงกรุงลอนดอนเท่านั้น
ในสมัยอาณาจักรอยุธยา บางกอก (กรุงเทพมหานคร) ยังเป็นเพียงสถานีการค้าขนาดเล็ก ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ฝั่งธนบุรี จึงได้ชื่อว่า กรุงธนบุรี และในปี พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงย้ายเมืองหลวงมายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ คือ ฝั่งพระนคร จึงได้ชื่อว่า กรุงรัตนโกสินทร์

ชื่อเมือง

คำว่า กรุงเทพมหานคร แปลว่า "พระนครอันกว้างใหญ่ดุจเทพนคร" มาจากชื่อเต็มว่ากรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์ มีความหมายว่าพระนครอันกว้างใหญ่ ดุจเทพนคร เป็นที่สถิตของพระแก้วมรกต เป็นมหานครที่ไม่มีใครรบชนะได้ มีความงามอันมั่นคง และเจริญยิ่ง เป็นเมืองหลวงที่บริบูรณ์ด้วยแก้วเก้าประการ น่ารื่นรมย์ยิ่ง มีพระราชนิเวศใหญ่โตมากมาย เป็นวิมานเทพที่ประทับของพระราชาผู้อวตารลงมา ซึ่งท้าวสักกเทวราชพระราชทานให้ พระวิษณุกรรมลงมาเนรมิตไว้
โดยนามเดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) โปรดเกล้าฯ พระราชทานในตอนแรกนั้น ใช้ชื่อว่า “กรุงรัตนโกสินทร์อินท์อโยธยา” ต่อมาในในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ทรงแก้นามพระนครเป็น “กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินท์ มหินทอยุธยา” จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ทรงเปลี่ยนคำว่า บวร เป็น อมร เปลี่ยนคำว่า มหินทอยุธยา โดยวิธีการสนธิศัพท์เป็น มหินทรายุธยา และเติมสร้อยนามต่อ ทั้งเปลี่ยนการสะกดคำ สินท์ เป็น สินทร์ จนเป็นที่มาของชื่อเต็มของกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) ข้างต้น
ชื่อทางการของกรุงเทพมหานครเมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ "Krung Thep Maha Nakhon" แต่คนทั่วไปนิยมทับศัพท์ตามชื่อที่ผู้พูดภาษาอังกฤษเรียกเมืองนี้ว่า "Bangkok" ซึ่งมาจากชื่อเดิมของกรุงเทพมหานคร คือ "บางกอก"
กรุงเทพมหานครได้ชื่อว่าเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกบันทึกไว้ในกินเนสส์บุ๊ก แปลความเป็นภาษาอังกฤษว่า "the Great City of Angels, the Supreme Repository for Divine Jewel, the Great Land Unconquerable, the Grand and Prominent Realm, the Royal and Delightful Capital City full of Nine Noble Gems, the Highest Royal Dwelling and Grand Palace, the Divine Shelter and Living Place of the Reincarnated Spirit"
ชื่อเต็มของกรุงเทพมหานคร เมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ "Krungthepmahanakhon Amonrattanakosin Mahintharayutthaya Mahadilokphop Noppharatratchathaniburirom Udomratchaniwetmahasathan Amonphimanawatansathit Sakkathattiyawitsanukamprasit"[6] ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ที่ยาวที่สุดในโลกและได้จดบันทึกไว้ในกินเนสบุ๊ค (169 ตัวอักษร) ยาวกว่าชื่อภูเขา "ตาอูมาตาวากาตังกีฮังกาโกอาอูอาอูโอตามาทีอาโปกาอีเวนูอากีตานาตาฮู" ("Taumatawhakatangihangakoauauotamateaturipukakapikimaungahoronukupokaiwhenuakitanatahu") (85 ตัวอักษร) ในนิวซีแลนด์ และชื่อทะเลสาบ "ชาร์ก็อกกาก็อกมานชาอ็อกกาก็อกเชาบูนากุนกามาอัก" ("Chargoggagogg­manchauggagogg­chaubunagungamaugg") (45 ตัวอักษร) ในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

ประวัติ

พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ชาวต่างชาติเรียกกันว่า "บางกอก" มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่าง ๆ เป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีกับเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก ส่วนบริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกกันว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม" มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณอำเภอพระประแดง
ที่มาของคำว่า "บางกอก" นั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก" หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก" โดยคำว่า "บางมะกอก" มาจากวัดอรุณ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัดดังกล่าว และต่อมาต่อมากร่อนคำลงจึงเหลือแต่คำว่าบางกอก
ต่อมาเมื่อถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 หลังการกอบกู้อิสรภาพจากพม่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ คือ กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313 แต่กรุงธนบุรีมีสภาพเป็นเมืองอกแตก ตรงกลางมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน เป็นเหตุให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) มีความคิดจะย้ายเมืองไปทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้การป้องกันรักษาเมืองเป็นไปได้โดยง่าย

ทิวทัศน์ยามค่ำคืนของกรุงเทพมหานคร
เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีมีชัยภูมิดีกว่าตะวันตก เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา
พระองค์มีพระบรมราชโองการให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่ดินเพื่อสร้างพระนครใหม่ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2325ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 9 บาท (54 นาที) ปีขาล จ.ศ. 1144 จัตวาศก ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.54 น. และทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ และมีฐานะในการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น "จังหวัดพระนคร"
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนใหม่ขึ้น และเปลี่ยนรูปแบบผังเมืองกรุงเทพมหานครเฉกเช่นอารยประเทศ เนื่องจากในสมัยนั้นสยามประเทศถูกคุกคามจากมหาอำนาจยุโรป และตรงจุดนี้เป็นหนึ่งในข้ออ้างที่มหาอำนาจนำมาใช้เพื่อแทรกแซงและคุกคามสยามประเทศ ภายหลัง ต่างชาติยุโรปเองได้ยอมรับกรุงเทพมหานครว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่มีผังเมืองงดงามที่สุดในโลกในสมัยนั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรีและภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพฯ
ใน พ.ศ. 2552 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองค่าครองชีพสูงสุดอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากสิงคโปร์
ในปี พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครได้รับการประกาศจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ให้เป็นเมืองหนังสือโลก หรือ World Book Capital ประจำปีพ.ศ. 2556 และมีค่าครองชีพสูงเป็นอันดับที่ 66 ของโลก

การปกครอง

กรุงเทพมหานครมีลักษณะเป็นเขตการปกครองพิเศษตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้ง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งตามวาระคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง การดำเนินงานมีสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงทำงานร่วมด้วย
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน คือ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร และปลัดกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันคือ เจริญรัตน์ ชูติกาญจน์

การปกครอง 50 เขต

รายชื่อ เขต 50 เขตในกรุงเทพมหานคร
  1. เขตพระนคร
  2. เขตดุสิต
  3. เขตหนองจอก
  4. เขตบางรัก
  5. เขตบางเขน
  6. เขตบางกะปิ
  7. เขตปทุมวัน
  8. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
  9. เขตพระโขนง
  10. เขตมีนบุรี
  11. เขตลาดกระบัง
  12. เขตยานนาวา
  13. เขตสัมพันธวงศ์
  14. เขตพญาไท
  15. เขตธนบุรี
  16. เขตบางกอกใหญ่
  17. เขตห้วยขวาง
  18. เขตคลองสาน
  19. เขตตลิ่งชัน
  20. เขตบางกอกน้อย
  21. เขตบางขุนเทียน
  22. เขตภาษีเจริญ
  23. เขตหนองแขม
  24. เขตราษฎร์บูรณะ
  25. เขตบางพลัด
  1. เขตดินแดง
  2. เขตบึงกุ่ม
  3. เขตสาทร
  4. เขตบางซื่อ
  5. เขตจตุจักร
  6. เขตบางคอแหลม
  7. เขตประเวศ
  8. เขตคลองเตย
  9. เขตสวนหลวง
  10. เขตจอมทอง
  11. เขตดอนเมือง
  12. เขตราชเทวี
  13. เขตลาดพร้าว
  14. เขตวัฒนา
  15. เขตบางแค
  16. เขตหลักสี่
  17. เขตสายไหม
  18. เขตคันนายาว
  19. เขตสะพานสูง
  20. เขตวังทองหลาง
  21. เขตคลองสามวา
  22. เขตบางนา
  23. เขตทวีวัฒนา
  24. เขตทุ่งครุ
  25. เขตบางบอน


เศรษฐกิจ

 การท่องเที่ยวมีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยซึ่งสร้างจีดีพีประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ กรุงเทพฯ เป็นประตูสู่สากลหลักของประเทศไทย ตลาดใหญ่นี้ทำให้กรุงเทพฯ เป็นทำเลหลักสำหรับการทำโรงแรมรวมทั้งกิจการที่พักขนาดเล็กและกลาง

สัญลักษณ์ประจำกรุงเทพมหานคร

  • ตราของกรุงเทพมหานคร เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ทรงสายฟ้า ตรานี้กรมศิลปากรออกแบบโดยอาศัยภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นต้นแบบ เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 ฉบับที่ 60 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (สมัยเมื่อยังเป็นจังหวัดพระนครนั้นใช้ตราพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นตราประจำจังหวัด)
  • ต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานคร คือต้นไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina)
  • คำขวัญของกรุงเทพมหานคร ไม่มี ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานครได้จัดโครงการประกวดคำขวัญกรุงเทพมหานครขึ้นเพื่อนำมาใช้เป็นคำขวัญประจำกรุงเทพมหานคร และจะประกาศผลการประกวดในวันที่ 2 กรกฎาคม

อาณาเขตติดต่อ

กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตทางบกติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนอาณาเขตทางทะเลอ่าวไทยตอนใน ติดต่อจังหวัดเพชรบุรีจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดชลบุรี โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี
  • ทิศตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา
  • ทิศใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรปราการ และอ่าวไทย (ส่วนที่เป็นอ่าวไทยที่เป็นพื้นที่เดิมของจังหวัดธนบุรี ปัจจุบันคือเขตบางขุนเทียน ซึ่งมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อทางอ่าวไทยกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ จุดที่อยู่ใต้สุดอยู่ที่ละติจูด 13 องศา 13 ลิปดา 00 ฟิลิปดาเหนือ, ลองจิจูด 100 องศา 27 ลิปดา 30 ฟิลิปดาตะวันออก ซึ่งเป็นการแบ่งตามพระราชบัญญัติกำหนดเขตจังหวัดในอ่าวไทยตอนใน พ.ศ. 2502)
  • ทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดนครปฐม

ภูมิอากาศ

กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตร้อน มีภูมิอากาศร้อนแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) ตามเกณฑ์การแบ่งภูมิอากาศโลกของวลาดีมีร์ เคิปเปิน คืออุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนที่หนาวเย็นที่สุดสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส มีอย่างน้อย 1 เดือนที่ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 60 มิลลิเมตร และเดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุด จะมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 100 ลบปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี หารด้วย 25 นั่นก็คือเป็นภูมิอากาศแบบมีฤดูฝนและฤดูแล้ง
อากาศของกรุงเทพมหานครได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (กลางเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม) และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (พฤศจิกายน-กลางเดือนกุมภาพันธ์) โดยมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดเอาไอน้ำและความอุ่นชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาด้วย ทำให้มีฝนตกในช่วงบ่ายถึงค่ำอย่างสม่ำเสมอ และยังก่อให้เกิดร่องมรสุมพาดผ่านในเดือนพฤษภาคมกับเดือนกันยายน ซึ่งทำให้มีฝนตกหนักกว่าปกติ แต่ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ร่องมรสุมนี้จะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านทางเหนือ จนถึงมณฑลหยุนหนานของจีน ทำให้ฝนตกน้อยลง เดือนพฤศจิกายน เมื่อซีกโลกเหนือหันออกจากดวงอาทิตย์ หย่อมความกดอากาศสูงในเขตไซบีเรียจะแผ่ออกไปโดยรอบ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดเอาความแห้งแล้งและหนาวเย็นมา ทำให้อากาศเย็นและแห้ง ท้องฟ้าแจ่มใส ไม่มีเมฆและฝนตก อุณหภูมิต่ำสุดของกรุงเทพฯที่เคยบันทึกได้คือ 9.9 องศาเซลเซียสที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2498 ครึ่งหลังของเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะอ่อนกำลังลง เป็นการเปลี่ยนเข้าสู่หน้าร้อน อากาศในตอนกลางวันจะร้อนขึ้นมาก ทำให้บนบกร้อนกว่าพื้นน้ำมาก ลมจากอ่าวไทยจะพัดเข้าสู่บกเป็นระยะ ๆ เรียกลมนี้ว่าลมตะเภา ซึ่งจะนำฝนมาตกหลังจากอากาศร้อนหลาย ๆ วัน และในช่วงวันที่ 25-30 เมษายนของทุกปี ดวงอาทิตย์จะส่องตั้งฉากกับกรุงเทพมหานครพอดี เป็นช่วงที่อากาศร้อนที่สุด อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึกได้คือ 40.8 องศาเซลเซียสที่ท่าอากาศยานดอนเมือง เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2526  กรุงเทพจะมีกลางวันยาวนานที่สุดราว ๆ วันที่ 23 มิถุนายน (12.55 ชั่วโมง) สั้นที่สุดราว ๆ 21 ธันวาคม (11.20 ชั่วโมง) และกลางวันเท่ากับกลางคืนประมาณเดือนมีนาคมกับกันยายน

สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน

กรุงเทพมหานครเป็นจุดท่องเที่ยวจุดหนึ่ง โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) วัดอรุณราชวราราม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม พระที่นั่งอนันตสมาคม ตึกใบหยก 2 (ตึกระฟ้าสูงอันดับที่ 44 ของโลก) นอกจากนี้แหล่งช้อปปิ้งต่าง ๆ ได้แก่ สยามพารากอน ตลาดนัดจตุจักร มาบุญครอง เซ็นทรัลเวิลด์ สยามสแควร์ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ เยาวราช พระรามสาม ยูเนี่ยนมอล สยามดิสคัฟเวอร์รี่ และแหล่งร้านอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ถนนข้าวสาร พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ นอกจากนี้ในกรุงเทพมหานครยังมีพื้นที่สีเขียวมากมาย สำหรับพักผ่อนหย่อนใจรวมทั้งใช้ออกกำลังกายและพบปะสังสรรค์ ซึ่งได้แก่ สวนหลวง ร.9 อุทยานเบญจสิริ สวนลุมพินี สวนจตุจักรเป็นต้น
ในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บริเวณถนนราชดำเนินและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจะมีการจัดแต่งประดับไฟเพื่อเฉลิมฉลองอย่างสวยงาม นอกจากนี้ เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การค้า การลงทุน และการปกครองในทุก ๆ ด้านของประเทศ จึงส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีตึกระฟ้ามากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลกอีกด้วย
จากเว็บไซต์ยูโรมอนิเตอร์ ใน พ.ศ. 2549 กรุงเทพฯ มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุดในโลกเป็นอันดับสองรองจากลอนดอน และกรุงเทพมหานครได้รับเลือกให้เป็นเมืองน่าเที่ยวอันดับหนึ่งของโลกประจำปี พ.ศ. 2553 และ 2554 ตามการจัดอันดับของนิตยสารทราเวลแอนด์เลเชอร์


การคมนาคม


เดิมทีกรุงเทพมหานครใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก โดยมีคลองมากจนได้ฉายาว่า เวนิสตะวันออก แต่ปัจจุบันบางแห่งได้มีการถมคลองเพื่อที่อยู่อาศัย การคมนาคมจึงเน้นหนักไปทางบกแทน

กรุงเทพมหานครได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่การจราจรติดขัดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ได้มีการแก้ไขปัญหาการจราจรมากมาย เช่น การสร้างทางด่วนหรือรถไฟฟ้า

การคมนาคมในกรุงเทพมหานครสามารถทำได้หลายทาง เช่น การนั่งรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) แท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง

 รถโดยสารประจำทาง

จะมีหลายสายเพื่อเป็นการบริการประชาชน ให้บริการในราคาย่อมเยา โดยรถโดยสารประจำทางเฉพาะพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล มีทั้งหมด 254 สาย ซึ่งในจำนวนนี้มีที่ขึ้นทางด่วนของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 36 เส้นทาง และเป็นเส้นทางที่ใช้รถปรับอากาศในเส้นทางเดียวกับเส้นทางปกติ 143 เส้นทาง ดังนั้นจึงคงเหลือรถธรรมดาที่ไม่ขึ้นทางด่วนและไม่มีรถปรับอากาศบริการในเส้นทางนั้น ๆ 75 เส้นทาง รถโดยสารร่วมบริการขนาดเล็ก (มินิบัส) ราคา 8 บาทตลอดสาย รถโดยสารธรรมดาของ ขสมก. ราคา 8 บาทตลอดสาย รถโดยสารธรรมดาร่วมบริการราคา 8 บาทตลอดสาย รถโดยสารปรับอากาศราคาเริ่มต้น 13 บาท และรถโดยสารปรับอากาศแบบยูโร 2ราคาเริ่มต้น 14 บาท โดยหากใช้บริการในยามค่ำระหว่างช่วง 23.00ถึง 5.00 ราคาจะเพิ่มขึ้น 1.50 บาท ตลอดสาย และหากรถขึ้นทางด่วนจะเพิ่มราคาขึ้นอีก 2 บาท
ประเภทของรถสีค่าโดยสารเวลาบริการทางด่วน
รถธรรมดาครีม-แดง905.00-23.0011
รถธรรมดาครีม-แดง10.5023.00-05.0013.50
รถธรรมดาขาว-น้ำเงิน1005.00-23.0012
รถธรรมดาขาว-น้ำเงิน11.5023.00-05.0013.50
รถมินิบัสเขียว ส้ม805.00-23.00
รถมินิบัสเขียว ส้ม9.5023.00-05.00
รถปรับอากาศครีม-น้ำเงิน13 15 17 19 2105.00-23.00
รถปรับอากาศ (ยูโร2)เหลือง-ส้ม14 16 18 20 24 2605.00-23.00

 

รถตู้ประจำทาง

ปัจจุบันมีทั้งหมด 126 สาย ให้บริการระหว่าง 05.00น. ถึง 22.00น. ค่าบริการอยู่ที่ 10-35 บาท
โดยเป็นรถปรับอากาศร่วมบริการ ขสมก.เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้โดยสารที่ต้องการนั่งบนรถตลอดการเดินทาง

 รถแท็กซี่

นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ได้มีการปรับอัตราค่าโดยสารแท็กซี่ขึ้น โดยอัตราค่าโดยสารที่ใช้กันอยู่ จะคิดรวมกันจาก 2 องค์ประกอบ คือ ค่าโดยสารตามระยะทาง (คิดเป็นจำนวนเต็มคี่ เศษปัดขึ้น) รวมกับค่าโดยสารตามเวลาที่รถจอด หรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (คิดเป็นจำนวนเต็มคู่ เศษปัดทิ้ง)
กิโลเมตรที่ค่าโดยสาร
0-135 บาท
1-125 บาท/กิโลเมตร
12-205.50 บาท/กิโลเมตร
20-406 บาท/กิโลเมตร
40-606.50 บาท/กิโลเมตร
60-807.50 บาท/กิโลเมตร
80 ขึ้นไป8.50 บาท/กิโลเมตร
และรวมกับค่าโดยสารตามระยะเวลาที่รถจอด หรือเคลื่อนที่ได้ไม่เกิน 6 กม./ช.ม. คิดในอัตรานาทีละ 1.50 บาท (คิดเป็นจำนวนเต็มคู่ เศษปัดทิ้ง)

ทางรถยนต์

กรุงเทพมหานครเป็นจุดเริ่มต้นของถนนหลักของประเทศไทย ได้แก่
  • ถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายเหนือ)
  • ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายตะวันออก)
  • ถนนเพชรเกษม (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายใต้)
  • ถนนพระรามที่ 2 (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35)
ทั้งนี้ มีทางหลวงสายหลักที่ไม่ได้เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร เช่น ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 สายตะวันออกเฉียงเหนือ) ซึ่งเริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี แต่ในสะพานข้ามคลองยังคงนับหลักกิโลเมตรจากกรุงเทพมหานครอยู่

ทางรถไฟ

การเดินทางด้วยรถไฟสามารถทำได้ โดยมีสถานีรถไฟต้นทางสามแห่งคือ
  • สถานีรถไฟกรุงเทพ (สถานีรถไฟหัวลำโพง) สำหรับเดินทางไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนล่าง
  • สถานีรถไฟธนบุรี (สถานีรถไฟบางกอกน้อย) สำหรับเดินทางไปยังภาคใต้ตอนบนและภาคตะวันตก
  • สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ สำหรับเดินทางเลียบปากอ่าวไทยไปยังปากน้ำท่าจีนและปากน้ำแม่กลอง
ในอนาคต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีแผนที่จะปรับปรุงสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อให้เป็นสถานีหลักเพียงแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ จะมีการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟทางไกลทั้งสามส่วนเข้าด้วยกันภายใต้โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดงเข้ม รังสิต-มหาชัย และสายสีแดงอ่อน (แอร์พอร์ตลิงก์) ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ)

ทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (BTS)

เมื่อปี พ.ศ. 2542 โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS - ย่อมาจาก Bangkok Transit System) ได้เปิดใช้งาน ซึ่งเป็นรถไฟระบบรางคู่ที่สร้างบนทางยกระดับ เป็นรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ทางรถไฟฟ้าที่ดำเนินการในปัจจุบันมีดังนี้
  • สายสุขุมวิท (สีเขียวอ่อน)
  • สายสีลม (สีเขียวเข้ม)

ทางรถไฟฟ้าใต้ดิน

รถไฟใต้ดินได้เปิดบริการเมื่อปีพ.ศ. 2547 ในชื่อโครงการรถไฟฟ้ามหานคร เป็นรางมาตรฐาน 1.435 เมตร ทางรถไฟฟ้าที่ดำเนินการในปัจจุบันมีดังนี้
  • สายเฉลิมรัชมงคล (สีน้ำเงิน)

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (Airport Rail Link)


เป็นรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิซึ่งเป็นรถไฟระบบรางคู่ที่สร้างบนทางยกระดับ เป็นรางมาตรฐาน 1.435 เมตร โดยวิ่งเป็น 2 ระบบ คือ

  1. รถไฟฟ้าด่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ วิ่งตรงระหว่างสถานีมักกะสันถึงสถานีสุวรรณภูมิ ภายในเวลา 15 นาที
  2. รถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้บริการผู้โดยสาร วิ่งรับ-ส่งระหว่างทางเริ่มต้นที่สถานีพญาไท และจอดรายทาง 7 สถานี สู่ปลายทางที่สถานีสุวรรณภูมิ ภายในเวลา 30 นาที

ทางรถโดยสารประจำทาง (ต่างจังหวัด)


รถโดยสารประจำทางหรือรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สำหรับเดินทางไปจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยมีสถานีหลักอยู่ที่

  • สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) (หรือที่เรียกกันติดปากว่า หมอชิตใหม่ หรือ หมอชิต 2) สำหรับเดินทางขึ้นเหนือ ไปภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง (รวมทั้งภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคใต้ในบางเส้นทาง)
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) สำหรับเดินทางไปภาคตะวันออก
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) สำหรับเดินทางลงใต้ ไปภาคใต้ และภาคตะวันตก

ทางรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ คือระบบขนส่งมวลชนใหม่ของกรุงเทพมหานคร มีลักษณะคล้ายกับรถประจำทาง แต่การเดินของรถนั้นแยกออกจากถนนปกติ ปัจจุบันเปิดให้บริการในเส้นทางช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 15.9 กิโลเมตร

ทางรถปรับอากาศพิเศษ

รถ ปรับอากาศพิเศษ หรือ METROBUSเป็นรถของบริษัท พรีเมียร์ เมโทรบัส จำกัดบริการเดินรถในกรุงเทพมหานคร

ทางรถรางรอบเกาะรัตนโกสินทร์

รถรางรอบเกาะรัตนโกสินทร์คิดค่าบริการ 30 บาท ดำเนินการขนส่งภายในเขตพระนครลักษณะรถทัวร์ชมเมืองวิ่งบนถนน ไม่ใช่รถรางไฟฟ้า

ทางอากาศ

การเดินทางทางอากาศ ในอดีตใช้ท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งได้เปิดใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ต่อมาได้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งได้เปิดใช้มาตั้งแต่วันที่ 28 กันยายนพ.ศ. 2549 เวลา 03.00 น.
ในปัจจุบัน ท่าอากาศยานดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานสำหรับรองรับเที่ยวบินภายในประเทศ และมีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสำหรับเที่ยวบินต่างประเทศและเที่ยวบินในประเทศบางส่วน โดยภายในปี พ.ศ. 2558 ทุกเที่ยวบินจะต้องทำการบินที่สนามบินสุวรรณภูมิเพียงสนามบินเดียวตามนโยบายของรัฐบาล


ทางน้ำ

เรือโดยสารทั้งทางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองมีดังนี้
  • เรือโดยสารคลองแสนแสบ
  • เรือหางยาวโดยสารคลองพระโขนง (พระโขนง - ตลาดเอื่ยมสมบัติ)
  • เรือด่วนเจ้าพระยา: เรือด่วนประจำทางและเรือด่วนพิเศษ (ธงส้ม ธงเหลือง ธงฟ้า และธงเขียว-เหลือง)
  • เรือหางยาวด่วนคลองบางกอกน้อย
  • เรือด่วนสาทร-คลองเตย
ส่วนท่าเรือสำหรับขนส่งผู้โดยสารและรับส่งสินค้าที่สำคัญของกรุงเทพฯ คือ ท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งตั้งอยู่ที่เขตคลองเตย

การเดินทางโดยการทางพิเศษ

กรุงเทพมหานครมีทางพิเศษทั้งหมด 8 เส้นทางเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดโดยประชาชนต้องชำระเงินเป็นกรณีพิเศษ แบ่งเป็นทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 7 แห่ง
ดูเพิ่มที่ ทางพิเศษในประเทศไทยและของกรมทางหลวง 1แห่ง ได้แก่ทางยกระดับอุตราภิมุข

 

ปัญหาในปัจจุบัน


การจราจรติดขัด

ปัญหาการจราจรติดตัดในกรุงเทพมหานคร นอกจากจะมาจากจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกปีแล้ว ปัจจัยเร่งให้กรุงเทพมหานครมีปัญหาการจราจรมากขึ้นเนื่องจากเป็นเมืองที่มีผู้คนจากต่างจังหวัดเข้ามาอาศัยเป็นจำนวนมาก[37] ทุกครั้งเมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์มักพบว่ามีผู้เดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวนมากซึ่งปัญหานี้ไม่ได้แตกต่างจากกรุงปักกิ่งเท่าใดนัก[38][39] ปัญหาการจราจรติดขัดยังนำไปสู่ปัญหามลพิษทางอากาศและมลภาวะทางเสียง[40] ในปี พ.ศ. 2551 มีถนนที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเกิน 10 ไมโครเมตร (ค่ามาตรฐาน) จำนวน 10 สายในกรุงเทพมหานคร และมี 2 สาย ที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานทุกวัน กล่าวคือเกิน 70 เดซิเบล และมีถนนที่มีการจราจรหนาแน่นเกินมาตราฐาน 3 สาย อีกทั้งวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศได้เป็นปัจจัยเร่งให้ปัญหานี้เพิ่มมากขึ้น

ทัศนียภาพ

ปัญหาทัศนียภาพเป็นปัญหาหนึ่งในกรุงเทพมหานครที่แตกต่างจากเมืองอื่น เนื่องจากในกรุงเทพมหานครมีป้ายผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก ประภากร วทานยกุล กรรมการผู้จัดการบริษัทสถาปนิก 49 จำกัดอดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยามกล่าวว่า ผลกระเทือนจากป้ายผิดกฎหมายทั้งหลายนี้ มีตั้งแต่ระดับเบา จนถึงรุนแรง เช่น บดบังความงามทางทัศนียภาพ ไปจนถึงถูกลมพัดพังถล่มทับบ้านเรือนประชาชน ในกรณีนี้มีให้เห็นกันเป็นประจำ โดยที่ยังไม่มีมาตรการใดๆ ออกมาแก้ไขปรับปรุงปัญหาดังกล่าวได้ ในขณะที่ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่ากรุงเทพมหานคร เปิดเผยเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554 ว่าป้ายผิดกฎหมายในกรุงเทพมีมากถึง 1,928 ป้ายโดยสำนักงานเขตที่มีป้ายมากที่สุด ได้แก่ 1.วังทองหลาง 400 ป้าย 2.บางแค 105ป้าย 3.บางเขน 104 ป้าย 4.ปทุมวัน 99 ป้าย และ 5.ลาดพร้าว 95 ป้าย อย่างไรก็ตาม สำนักเทศกิจและสำนักงานเขต 50 เขต จัดเก็บป้ายผิดกฎหมายในพื้นที่ และเปรียบเทียบปรับตามพ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเมือง พ.ศ. 2535 และจัดเก็บภาษีตามพ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ตั้งแต่เดือนมิ.ย.52-ก.ค.54 จัดเก็บได้ 1,327,229 ป้าย ซึ่งสถิติสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่ เขตบางกอกน้อย จำนวน 205,541 ป้าย วังทองหลาง 175,776 ป้าย ห้วยขวาง 83,506 ป้าย มีนบุรี 69,591 ป้าย และบางพลัด 60,986 ป้าย

อาชญากรรม

ปัญหาอาชญากรรมในกรุงเทพมหานครยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยในรายงานของสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ได้ทำการรวบรวมวิจัยปัญหานี้ตลอดปี พ.ศ. 2550 พบว่าเหยื่ออาชญากรรมที่เป็นสมาชิกครัวเรือนมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 52,410 รายนั้น ส่วนใหญ่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมต่อทรัพย์สิน ร้อยละ 96.1 เหยื่ออาชญากรรมมีอายุระหว่าง 45 - 59 ปี มากที่สุดคือ ร้อยละ 33.2 เหยื่ออาชญากรรมเป็นเพศชาย ร้อยละ 46.4 และหญิง ร้อยละ 53.6 มีสัญชาติไทย ร้อยละ 99.6 เชื้อชาติไทย ร้อยละ 99.0 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 94.1 มีการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษาเป็นจำนวนมากที่สุดคือร้อยละ 31.2 เหยื่ออาชญากรรมในกรุงเทพมหานคร รายงานว่าอาชญากรรมที่ประสบในภาพรวมเกิดเหตุในช่วงเวลา 24.01–03.00 น. มากที่สุดถึงร้อยละ 21.1 สถานที่เกิดเหตุอาชญากรรมทั้งหมดในกรุงเทพมหานครพบว่า ส่วนใหญ่เหยื่อระบุว่า เกิดเหตุขึ้นบริเวณบ้านที่พักอาศัยของเหยื่ออาชญากรรมคิดเป็นร้อยละ 74.8

มหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร

 กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศ มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่

มหาวิทยาลัยของรัฐบาลและในกำกับของรัฐบาล

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บางมดและบางขุนเทียน
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร(มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช)
  • สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ศูนย์กรุงเทพมหานคร
  • สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
  • วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • สถาบันการบินพลเรือน
  • สถาบันการพลศึกษา (สำนักงานอธิการบดี)
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
  • วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
  • วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
  • วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
  • วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
  • วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ

มหาวิทยาลัยสงฆ์

  • มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยของเอกชน

  • มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • มหาวิทยาลัยรังสิต รังสิต,ศูนย์สาธรธานี,ศูนย์วิภาวดี
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • มหาวิทยาลัยเกริก
  • มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต พัฒนาการและร่มเกล้า
  • มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • มหาวิทยาลัยธนบุรี
  • มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • มหาวิทยาลัยสยาม
  • มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ วิทยาเขตยศเส
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ หัวหมาก,เซ็นทรัลเวิลด์
  • มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น
  • มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ วิทยาเขตสะพานใหม่
  • คณะพยาบาลศาสตร์มิชชั่น มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก
  • มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด พระราม 9
  • มหาวิทยาลัยชินวัตร พญาไท

วิทยาลัยของเอกชน

  • วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • วิทยาลัยดุสิตธานี
  • วิทยาลัยรัชต์ภาคย์
  • วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก
  • วิทยาลัยทองสุข
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

สถาบันของเอกชน

  • สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
  • สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
  • สถาบันอาศรมศิลป์
  • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์

นอกจากนี้ยังมีสถาบันอุดมศึกษาในต่างจังหวัดที่เข้ามาตั้งศูนย์วิทยบริการและศูนย์การศึกษาในกรุงเทพมหานครอีกหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยทักษิณเป็นต้น

การดูแลสุขภาพและศูนย์การแพทย์

กรุงเทพฯ มีโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ ซึ่งรวมโรงเรียนแพทย์ 8 แห่งจาก 15 แห่งของประเทศ โรงพยาบาลหลายแห่งในกรุงเทพฯ เป็นระดับตติยภูมิ ซึ่งรับการส่งต่อโรคที่ต้องการวิธีรักษาที่ซับซ้อนจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ ในส่วนโรงพยาบาลรัฐกรุงเทพมีทั้งหมด 18 แห่ง เป็นโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครเอง 6 แห่ง โรงพยาบาลภาคเอกชน กรุงเทพมหานครมีโรงพยาบาลเอกชนถึง 107 แห่งเฉพาะที่มีชื่อเสียงอย่างมาก เช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลระดับนานาชาติหลักบนถนนสุขุมวิท และเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติ, ชาวไทยผู้มีฐานะและนักท่องเที่ยวทางการแพทย์ โรงพยาบาลที่ใกล้เคียงคือโรงพยาบาลสมิติเวชและโรงพยาบาลกรุงเทพ ทั้ง 3 แห่งได้การรับรองจากคณะกรรมการร่วมระหว่างประเทศ ด้านโรงพยาบาลรักษาสัตว์ กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีทั้งหมดอย่างน้อย 44 แห่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น