วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบำ

ระบำ

ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า การฟ้อนรำเป็นชุด หรืออีกนัยหนึ่ง คือ การฟ้อนรำมุ่งหมายเพียงเพื่อความงดงามของศิลปะการรำ และการรื่นเริงบันเทิงใจไม่แสดงเป็นเรื่องราว ประกอบด้วยผู้แสดงจำนวนมากกว่า 2 คนขึ้นไป มีจุดประสงค์เพื่อแสดงความงดงาม ความพร้อมเพรียง การแปรแถวในขณะแสดง ประกอบกับการแต่งกายที่สวยงาม และเพลงดนตรีที่ไพเราะน่าฟัง

ระบำ แบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ ระบำมาตรฐาน และ ระบำเบ็ดเตล็ด

1) ระบำมาตรฐาน หมายถึง การแสดงที่มีลักษณะการแต่งกายยืนเครื่องพระ-นาง ตลอดจนท่ารำเพลงร้องและดนตรีได้กำหนดไว้เป็นแบบแผน มีลักษณะเฉพาะตัว ตามแบบของนาฏศิลป์ไทย ซึ่งบรมครูทางนาฏศิลป์ได้กำหนดแบบแผนกระบวนการรำ เป็นที่ยอมรับกันมาช้านานแล้ว ไม่ควรแก้ไขดัดแปลงไปจากเดิม เช่น ระบำสี่บท ต่อมาได้มีผู้ประดิษฐ์ระบำเลียนแบบระบำสี่บทขึ้นอีกหลายชุด ได้แก่ ระบำย่องหงิด ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤดาภินิหาร ระบำพรหมมาสตร์ และระบำเทพบันเทิง เป็นต้น

2) ระบำเบ็ดเตล็ด หมายถึง การแสดงที่ประดิษฐ์คิดค้นหรือปรับปรุงขึ้นใหม่ตามความประสงค์ ตามเหตุการณ์ ตามสมัยนิยม ตามเนื้อเรื่องที่ผู้ประพันธ์ต้องการ หรือเป็นระบำที่ใช้ประกอบการแสดงละคร การแต่งกายจะแต่งตามรูปแบบลักษณะของการแสดงนั้นๆ เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำกราวอาสา ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำเริงอรุณ ระบำวิชนี ระบำไกรลาสสำเริง ระบำฉิ่ง ระบำโบราณคดี รำสีนวล รำโคม เป็นต้น

ระบำกฤดาภินิหาร



ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖ เพื่อใช้ประกอบการแสดงละครเรื่อง เกียรติศักดิ์ไทย ในสมัยพระอนุมานราชธนเป็นอธิบดีกรมศิลปากร (หลังยุคละครหลวงวิจิตรวาทการ) ประดิษฐ์ท่ารำโดยหม่อมต่วน ภัทรนาวิก และนางลมุล ยมะคุปต์ ประพันธ์บทโดย สุดา บุษปฤกษ์ ในครั้งแรกนั้นใช้วงดนตรีสากลของกรมศิลปากรบรรเลงประกอบการแสดง ภายหลังจึงใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม และแยกออกเป็นชุดระบำเบ็ดเตล็ดที่นิยมใช้ในการอวยพรในงานมงคลต่างๆ เพลงที่ใช้ประกอบคือเพลงรัวดึกดำบรรพ์ ครวญหา จีนถอนและจีนรัว เนื้อเพลงกล่าวยอพระเกียรติสมเด็จพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระราชกฤดาภินิหารอันยิ่งใหญ่ของไทย ที่พระเกียรติลือกระฉ่อนถึงเทวดาชั้นฟ้า

การแต่งกายของผู้แสดงนั้น แต่งยืนเครื่องตัวพระและตัวนาง ตัวพระสวมศิราภรณ์ชฏา ตัวนางสวมศิราภรณ์มงกุฎกษัตริย์ มีลักษณะท่ารำเป็นระบำหมู่คู่พระ-นาง ออกรำในเพลงรัวดึกดำบรรพ์ ตีบทตามคำร้องเพลงครวญหา แล้วรำท่าจีนรัว โปรยดอกไม้ สามารถแสดงได้สองรูปแบบ คือ รำตามบท ร้องสี่คำกลอน
แล้วตัดไปโปรยดอกไม้ในเพลงจีนรัว ซึ่งใช้เวลาแสดงประมาณ ๕ นาที และอีกแบบหนึ่งรำเต็มบทร้องหกคำกลอน โปรยดอกไม้ตามบทร้องและในเพลงจีนรัว ซึ่งใช้เวลาแสดงประมาณ ๖ นาที
การแสดง ใช้ผู้แสดง ๑-๒ คู่
โอกาสที่ใช้ในการแสดง ในงานพิธีมงคลและงานเบ็ดเตล็ด

บทร้อง
ปราโมทย์แสนองค์อัปสรอมรแมนแดนสวรรค์
ยินกฤดาภินิหารมหัศจรรย์เกียรติไทยลั่นลือเลื่องเรืองรูจี
ต่างเต็มตื้นชื่นชมโสมนัสโอษฐ์เอื้อนอรรถอวยพรสุนทรศรี
แจ้วจำเรียงเสียงเพลงสดุดีดนตรีรี่เรื่อยประโคมประโลมลาน
แล้วลีลาศเริงรำระบำร่ายกรกรีดกรายโปรยมาลีสีประสาน
พรมน้ำทิพย์ปรุงปนสุคนธารจักรวาลฉ่ำชื่นรื่นรมย์ครัน





ระบำดาวดึงส์



ระบำดาวดึงส์เป็นระบำมาตรฐานที่สร้างสรรค์รูปแบบท่ารำใหม่ แตกต่างจากระบำมาตรฐานแบบดั้งเดิม เช่น ระบำสี่บทที่ท่ารำตีบทความหมายของคำร้องระบำดาวดึงส์เป็นระบำประกอบในการแสดงละครดึกดำบรรพ์เรื่องสังข์ทอง ตอนตีคลี ซึ่งจัดแสดงที่โรงละครดึกดำบรรพ์ วังบ้านหม้อ ปลายสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

บทร้องเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พรรณนาถึงความงดงามโอฬารของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และทิพยสมบัติของพระอินทร์ หม่อมเข็ม กุญชร ณ อยุธยา ได้ปรับปรุงท่ารำเลียนแบบท่าเต้นในพิธีแขกเจ้าเซ็น ซึ่งเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีทรงประดิษฐ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงชุดนี้ ใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ซึ่งสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงปรับปรุงแตกต่างจากวงปี่พาทย์เครื่องคู่และเครื่องใหญ่ คือ ลดเครื่องดนตรีบางชิ้นให้มีเสียงทุ้มนุ่มนวล ไม่แกร่งกร้าวเสียงแหลมสูง เครื่องบรรเลง ได้แก่ ระนาดเอกตีด้วยไม้นวม ระนามทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ ตะโพน กลองตะโพนคู่ (ถอดเท้าตั้งขึ้นตีแทนกลองทัด) ฉิ่ง ฆ้องหุ่ยเจ็ดลูก (๗ เสียงเรียงลำดับ) กลองแขก ทำนองเพลงประกอบลีลาท่ารำ คือ เพลงเหาะ เพลงตะเขิ่ง เพลงเจ้าเซ็น เพลงรัว

ในส่วนของการแต่งกาย ตัวพระเทพบุตร แต่งกายยืนเครื่องเต็มตัว นุ่งผ้ายกตีปีกจีบโจงไว้หางหงส์ทับบนสนับเพลาเชิงงอน สวมเสื้อรัดรูปปักดิ้น
เลื่อมลายกนกแขนสั้นเหนือศอก ติดกนกปลายแขน สวมเครื่องประดับถนิมพิมพาภรณ์ครบชุด ศิราภรณ์ชฎายอดชัย ตัวนางอัปสร แต่งกายยืนเครื่องนางเต็มตัว นุ่งผ้ายกจีบหน้านางทิ้งชายพก สวมเสื้อในนางรัดรูป ห่มผ้าห่มนางเต็มผืนปักดิ้นเลื่อมลายกนก สวมเครื่องประดับถนิมพิมพาภรณ์ครบชุด ศิราภรณ์มงกุฎกษัตริย์ ลีลาท่ารำจะผสมผสานนาฏศิลป์ไทยกับท่าเต้นทุบอกในพิธีแขกเจ้าเซ็น ท่ารำเข้าคู่พระ-นาง ในรูปแบบรำหมู่ เพลงเหาะ รัว ใช้ แม่ท่านาฏศิลป์ไทย ต่อจากนั้นเป็นการผสมผสานท่ารำไทยกับท่าเต้นในพิธีเจ้าเซ็น ซึ่งดูสง่างาม
การแสดงชุดนี้ใช้เวลาแสดงประมาณ ๘ นาที

บทร้อง
ดาวดึงส์เทวโลกมโหฬาร เป็นที่อยู่สำราญฤทัยหรรษ์
สารพัดงามจริงทุกสิ่งอัน สารพันอุดมสมใจปอง
เทพบุตรผุดพรรณโฉมยง งามทรงอาภรณ์ไม่มีหมอง
นางอัปสรงอนสงวนนวลละออง งามทรงเครื่องทองและเพชรนิล
สมเด็จพระอัมรินทร์ปิ่นมงกุฎ ทรงวชิราวุธธนูศิลป์
รักษาเทวสีมาเป็นอาจิณ อสุรินทร์อรีไม่บีฑา (ซ้ำ)
อันอินทรปราสาททั้งสาม (ซ้ำ) ทรงงามสูงเงื้อมกลางเวหา
สี่มุขหุ้มมาศสะอาดตา ใบระกาแกมแก้วประกอบกัน
ช่อฟ้าช้อยเฟื้อยเฉื่อยชด (ซ้ำ) บราลีที่ลดมุขกระสัน (ซ้ำ)
มุขเด็ดทองคาดกนกพัน บุษบกสุวรรณชามพูนุท (ซ้ำ)
ราชยานเวชยันตร์รถแก้ว (ซ้ำ) เพริศแพร้วกำกงอลงกต (ซ้ำ)
แอกงอนอ่อนสลวยชวยชด (ซ้ำ) เครือขดช่อตั้งบัลลังก์ลอย
รายรูปสิงห์อัดหยัดยัน สุบรรณจับนาคหิ้วเศียรห้อย (ซ้ำ)
ดุมพราววาววับประดับพลอย แปรกแก้วกาบช้อยสะบัดบัง
เทียมด้วยสิงธพเทพบุตร ทั้งสี่บริสุทธิ์ดั่งสีสังข์
มาตลีอาจขี่ขับประดัง ให้รีบรุดสุดกำลังดังลมพา





ระบำเทพบันเทิง



ระบำเทพบันเทิงเป็นระบำที่นายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางค์ไทย กรมศิลปากรและศิลปินแห่งชาติ แต่งบทร้องและบรรจุทำนองเพลงประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา ตอนลมหอบ กล่าวถึงเทพบุตรนางฟ้าฟ้อนรำบำเรอองค์ปะตาระกาหลา กรมศิลปากรจัดแสดงให้ประชาชนชม ณ โรงละครศิลปากร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ ผู้ประดิษฐ์ลีลาท่ารำ คือ นางลมุล ยมะคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป กรมศิลปากร นางมัลลิ คงประภัศร์ และ นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก (หม่อมครูต่วน) โดยเป็นการรำเข้าคู่พระ-นาง ตีบทตามคำร้อง แปรแถวโดยผู้แสดงแต่งยืนเครื่องเทพบุตร-นางฟ้า
การแสดงชุดนี้ใช้เวลาแสดงประมาณ ๙ นาที

ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงใช้วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้าหรือเครื่องคูหรือเครื่องใหญ่ ทำนองเพลงแขกเชิญเจ้า เพลงยะวาเร็ว เข้าปี่พาทย์

คําร้อง
เหล่าข้าพระบาท ขอวโรกาส เทวฤทธิ์อดิศร
ขอฟ้อนกรายรำร่ายถวายกร บำเรอปิ่นอมรปะตาระกาหลา
ผู้ทรงพระคุณยิ่งบุญบารมี เพื่อเทวบดี สุขสมรมยา
เถลิงเทพพระสิมา พิมานสำราญฤทัย
สุรศักดิ์ประสิทธิ์ สุรฤทธิ์กำจาย
ทรงสราญพระกาย ทรงสบายพระทัย
ถวายอินทรีย์ต่างมาลีบูชา ถวายดวงตาต่างปทีปจำรัสไข
ถ้อยคำอำไพต่างธูปหอมจุณจันทน์ ถวายดวงจิตอัญชลิตวรคุณ
ที่ทรงการุณย์ผองข้ามาแต่บรรพ์ ถวายชีวันรองบาทจนบรรลัย
สุรศักดิ์ประสิทธิ์ สุรฤทธิ์กำจาย
ทรงสราญพระกาย ทรงสบายพระทัย
ร่วมกันร้องทำนองลำนำ มาฟ้อนมารำให้รื่นเริงใจ (ซ้ำ)
ให้พร้อมให้เพรียงเรียงประดับ เปลี่ยนสับท่วงทีหนีไล่
เวียนไปได้จังหวะกัน อัปสรฟ้อนส่ายกรีดกรายออกมา
ฝ่ายฝูงเทวาทำท่ากางกั้น (ซ้ำ) เข้าทอดสนิทไม่บิดไม่ผัน (ซ้ำ)
ผูกพัน ผูกพันสุขเกษม ปลื้มเปรมปลื้มเปรมปรีดา




ระบำดาวดึงส์

ชื่อ  ระบำดาวดึงส์

ประเภทการแสดง ระบำ (ประเภทระบำมาตรฐาน)

ประวัติที่มา

ระบำดาวดึงส์ เป็นการแสดงมาตรฐานที่เป็นฉบับไทยอีกชุดหนึ่ง ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ได้ทรงนิพนธ์บทร้องขี้ประกอบการแสดงในบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่องสังข์ทอง ตอนที่ ๒ ตอนตีคลี ฉากดาวดึงส์ ในฉากนี้มีพระอินทร์กับพระมเหสีประทับอยู่บนแท่น พระวิศนุกรรม และพระมาตุลี นั่งอยู่ชั้นลดสองข้าง พวกคนธรรพ์ประจำเครื่องดนตรีอยู่ด้านหน้า เหล่าเทวดานางฟ้าเข้านั่งเฝ้าสองข้าง เริ่มเปิดฉากเหล่าเทวดานางฟ้าก็จับระบำถวาย

การแสดงเรื่องนี้จัดแสดงที่โรงละครดึกดำบรรพ์ ริมถนนอัษฎางค์ (วังบ้านหม้อ) ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื้อร้องของระบำพรรณนาถึงความงดงามความโอฬารของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และความมโหฬารตระการตาในทิพย์สมบัติของพระอินทร์ ตลอดจนความงดงามของเหล่าเทวดานางฟ้าในสรวงสวรรค์ หม่อมเข็ม กุญชร ณ อยุธยา (หม่อมเจ้าในพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์)เป็นผู้คุม ฝึกหัดคิดท่ารำ

ต่อมาการแสดงชุดนี้ได้นำมาจัดเป็นชุดเอกเทศ จึงนำออกด้วยเพลงเหาะ และรำตามเนื้อร้องในเพลงตะเขิ่ง, เจ้าเซ็น แล้วจบท้ายด้วยเพลงรัว นับเป็นระบำชุดหนึ่งที่ได้ปรับปรุงทางดนตรี และทางรำให้ได้กะทัดรัด จนเป็นนาฏศิลป์ไทยชุดหนึ่งที่ได้ยึดถือเป็นแบบระบำแสดงความรื่นเริงบันเทิงใจ ซึ่งได้อนุรักษ์ไว้เป็นแบบแผนสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้

รูปแบบ และลักษณะการแสดง

เป็นการรำของเหล่าเทวดานางฟ้า ลักษณะท่ารำที่สำคัญ คือท่ารำจะไม่มีความหมายตรงกับเนื้อร้อง แต่จะเป็นท่ารำที่มีความสอดคล้องกลมกลืนกันตลอดทั้งเพลง ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ท่ารำบางท่าได้ปรับปรุงเลียนแบบท่าเต้นในพิธีแขกเจ้าเซ็น ได้แก่ การใช้ท่ารำยกมือขึ้นประสานไขว้กันไว้ที่อก และขยับฝ่ามือตบอกเบา ๆ ตามจังหวะพร้อมการเคลื่อนเท้าไปด้วย กล่าวกันมาว่าท่ารำแบบนี้ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี พระอนุชาของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงประดิษฐ์ขึ้น     เมื่อประมาณสองร้อยกว่าปีมาแล้ว โดยทรงเลียนแบบมาจากการเต้นทุบอกในพิธีเต้นเซ็นของชนนับถือลัทธิศาสนาอิสลาม นิกายเจ้าเซนซึ่งฝรั่งเรียกว่า Shiites โดยทรงปรับท่าทางให้ดูนุ่มนวลอ่อนช้อยไปตามหลักนาฏศิลป์ไทย 

แบ่งเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ได้ดังนี้

ขั้นตอนที่ ๑

 รำออกในเพลงเหาะ (เป็นท่ารำที่แสดงการเดินทางเป็นรูปขบวนของเหล่าเทวดานางฟ้า กระบวนท่ารำเป็นมาตรฐานที่ใช้สืบต่อกันมา )

ขั้นตอนที่ ๒

 รำตามบทร้องในเพลงตะเขิ่ง (เนื้อร้องกล่าวถึงความงามทั่วสรรพางค์กายของเทวดานางฟ้า) เพลงเจ้าเซ็น (เนื้อร้องแสดงถึงความงดงามอลังการในวิมานที่ประทับของพระอินทร์)

ขั้นตอนที่ ๓

 รำเข้าตามทำนองเพลงรัว

ดนตรี และเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง

ใช้วงปี่พาทย์ไม้นวม เพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดง ได้แก่เพลงเหาะ เพลงรัว เพลงตะเขิ่ง เพลงแขกเจ้าเซ็น และเพลงรัว




เครื่องแต่งกาย

ผู้แสดงแต่งกายยืนเครื่อง ละคร

ฝ่ายพระสวมเสื้อแขนสั้น ศิราภรณ์ชฎายอดชัย

ฝ่ายนางศิราภรณ์มงกุฏกษัตรีย์

      
   บทร้องระบำดาวดึงส์ 

- ปี่พาทย์ทำเพลงเหาะ - รัว -
-
ร้องเพลงตะเขิ่ง - 

ดาวดึงส์เทวโลกมโหฬาร
สารพัดงามจริงทุกสิ่งอัน
เทพบุตรผุดพรรณโฉมยง
นางอัปสรงอนสงวนนวลละออง 
เป็นอยู่ที่สำราญฤทัยหรรษ์
สารพันอุดมสมใจปอง
งามทรงองค์อาภรณ์ไม่มีหมอง
งามทรงเครื่องทองและเพชรนิล
- ร้องเพลงแขกเจ้าเซ็น - 

สมเด็จพระอมรินทร์ปิ่นมงกุฎ
รักษาเทวสีมาเป็นอาจิณ
อันอินทรปราสามทั้งสาม
สี่มุขหุ้มมาศสะอาดตา
ช่อฟ้าช้อยเฟื้อยเฉื่อยชด
มุขเด็จทองดาดกนกพัน
ราชยานเวชยันต์รถแก้ว
แอกงอนอ่อนสลวยชวยชด
รายรูปสิงอัดหยัดยัน
ดุมพราววาววับประดับพลอย
เทียมด้วยสินธพเทพบุตร
มาตลีอาจขี่ขับประดัง 
ทรงวชิราวุธธนูศิลป์
อสุรินทร์อรีไม่บีฑา
ทรงงามสูงเงื้อมกลางเวหา
ใบระกาแกมแก้วประกอบกัน
บราลีที่ลดมุขกระสัน
บุษบกสุวรรณชามพูนท
เพริศแพร้วกำกงอลงกต
เครือขดช่อตั้งบัลลังก์ลอย
สุบรรณจับนาคหิ้วเศียรห้อย
แปรกแก้วกาบช้อยสะบัดบัง
ทั้งสี่บริสุทธิ์ดังสีสังข์
ให้รีบรุดสุดกำลังดังลมพา
- ปี่พาทย์ทำเพลงรัว - 

 

 หมายเหตุ

ดนตรีใช้ประการแสดงชุดนี้ ในชั้นต้นใช้วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ซึ่งสมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงปรับปรุงจากวงปี่พาทย์เครื่องคู่ และเครื่องใหญ่ คือ ปรับเครื่องดนตรีให้มีเสียงทุ้มนุ่มนวล ไม่แกร่งกร้าวเสียงสูงแหลม เครื่องบรรเลง ได้แก่ ระนาดเอกตีด้วยไม้นวม ระนาดทุ้ม ระยาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ ตะโพน กลองตะโพนคู่ (ถอดเท้าตั้งขึ้น ตีแทนกลองทัด) ฉิ่ง ฆ้องหุ่ยเจ็ดลูก (๗ เสียงเรียงลำดับ) กลองแขก ต่อมาจัดแสดงเป็นชุดเอกเทศ จึงได้ใช้วงปี่พาทย์ แต่ก็ยังคงเอกลักษณ์ให้ทำนองเสียงทุ้มนุ่มนวลเช่นเดิม ส่วนสำเนียงเสียงเพลงดนตรี และเพลงขับร้องบางตอน ก็มีสำเนียงแขกผสมผสานอยู่ด้วย จึงเรียกเพลงทำนองนี้ว่า " แขกเจ้าเซ็น " ทำนองเพลงที่ใช้ประกอบลีลาท่ารำ คือ เพลงเหาะ เพลงตะเขิ่ง เพลงเจ้าเซ้น และเพลงรัว


โอกาสที่ใช้แสดง

เริ่มต้นที่ใช้แสดงประกอบละครดึกดำบรรพ์ เรื่องสังข์ทอง ตอนตีคลี ต่อมาได้จัดเป็นชุดระบำเอกเทศ จึงสามารถใช้แสดงในงานต่าง ๆ ทั่วไปได้



ข้อมูลโดย             นางปิยเนตร  เสนะเวส

                        ครูชำนาญการ โรงเรียนสนามชัยเขต

                        ค.บ.นาฏศิลป์ (เกียรตินิยมอันดับ๒)


ภาพประกอบ         ศิลปิน และพัสตราภรณ์

คณะบุคคล คณะนาฏศิลป”นาฏปิยา” จังหวัดฉะเชิงเทรา
 
การรำ

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบำไกรลาศสำเริง

ระบำไกรลาศสำเริง
ระบำไกรลาศ เป็นการแสดงที่นำมาจากการแสดงละครเรื่อง “มโนห์รา” ของวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ที่จัดแสดงแก่ประชาชนเมื่อ พ.ศ. 2498 ผู้คิดบทร้อง และทำนองเพลงคือ อาจารย์มนตรี ตราโมท การแสดงชุดนี้ ให้เห็นถึงการร่วมกันอำนวยพรจากสรรพสิ่งต่างๆ ที่อยู่ยังเขาไกรลาศ
เนื้อเพลงระบำไกรลาศสำเริง
พวกเราล้วนชาวไกรลาศคีรี รื่นเริงฤดี เกษมสุขศรีสโมสร
ขอรำร่ายกรีดกรายฝ่ายฟ้อน ให้สุนทรทัศนาสุขารมณ์
ร่วมเริงสำราญ ระรื่นชื่นบานในงานฉลอง
กล่าวคำทำนอง ให้สอดประสานเสียงประสม
ตามประเพณีในก่อนกาลบุราณนิยม ขอเชิญชมภิรมย์รื่นสำเริงฤทัย
ชาวไกรลาศมาดหวังตั้งใจ อวยพรให้วิโรจน์รุ่งวรานันท์
แวดล้อมพร้อมหน้า เหล่ากินราและกินรี
หมู่พญาวาสุกรี อีกครุฑาและคนธรรพ์
เหล่าเทพธิดาโสภาลาวัณย์ เทพไททุกชั้นอสูรกุมภัณฑ์ วิทยาธร
ผู้มีคุณธรรมประจำตนเป็นคนดี ซื่อตรงคงที่ไม่ผันแปรเที่ยงแท้แน่นอน
บากบั่นมั่นจิตมิคิดย่อหย่อน เทพช่วยอวยพรและซ้องสรรเสริญเจริญชัย
ให้สันต์เกษมสุข ห่างภัยไกลทุกข์นิรันตราย
ผู้ผยองปองร้ายจงแพ้พ่ายมลายไป สิ่งที่ประสงค์ขอจงเสร็จได้
เกียรติระบือลือไกล ทรัพย์สินเงินทองเนืองนอง เทอญ
ท่ารำระบำไกรลาศสำเริง

ระบำกินรีร่อน


“ระบำกินรีร่อน”เป็นแสดงที่อยู่ในละครเรื่องพระสุธน-มโนราห์ ซึ่งกรมศิลปากรได้เคยจัดแสดงให้แก่ประชาชนชมมาแล้ว คุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ของกรมศิลปากร ได้ปรับปรุงและประดิษฐ์ท่ารำให้ประณีตสวยงามและกะทัดรัดเหมาะแก่ผู้ชมซึ่งเป็นทั้งประชาชนชาวไทย และชาวต่างประเทศ


“ระบำกินรีร่อน”เป็นแสดงที่อยู่ในละครเรื่องพระสุธน-มโนราห์ ซึ่งกรมศิลปากรได้เคยจัดแสดงให้แก่ประชาชนชมมาแล้ว คุณหญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ของกรมศิลปากร ได้ปรับปรุงและประดิษฐ์ท่ารำให้ประณีตสวยงามและกะทัดรัดเหมาะแก่ผู้ชมซึ่งเป็นทั้งประชาชนชาวไทย และชาวต่างประเทศประกอบกับเรื่องมโนราห์เป็นวรรณกรรมที่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ การแสดงชุดนี้จึงได้รับความนิยมยกย่องมากในด้านความวิจิตรสวยงามของกระบวนท่ารำและเครื่องแต่งกาย

ส้มตำ


ส้มตำ เป็นอาหารคาวของไทยอย่างหนึ่ง มีต้นกำเนิดไม่แน่ชัดโดยน่าจะมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทยและ ประเทศลาว ส่วนมากจะทำโดยนำมะละกอดิบที่ขูดเป็นเส้น มาตำในครกกับ มะเขือเทศลูกเล็ก ถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้ง พริก และกระเทียม ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา ปูดองหรือปลาร้า ให้มีรสเปรี้ยว เผ็ด และออกเค็มเล็กน้อย นิยมกินกับข้าวเหนียวและไก่ย่าง โดยมีผักสด เช่น กะหล่ำปลี หรือถั่วฝักยาว เป็นเครื่องเคียง
ร้านที่ขายส้มตำ มักจะมีอาหารอีสานอย่างอื่นขายร่วมด้วย เช่น ซุปหน่อไม้ ลาบ ก้อย น้ำตก ไก่ย่าง ข้าวเหนียว เป็นต้น

ประวัติ

หน้า 171 ในหนังสือของ เดอ ลา ลูแบร์ กล่าวถึงมะละกอ
ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีการนำมะละกอดิบมาปรุงเป็นส้มตำเป็นครั้งแรกเมื่อใด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาถึงที่มาของส่วนประกอบต่างๆ ของส้มตำ อาจได้ข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการสันนิษฐานถึงที่มาของส้มตำได้
มะละกอเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลางและถูกนำเข้ามาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยชาวสเปนและโปรตุเกส ในยุคต้นของกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่พริกอาจถูกนำเข้ามาเผยแพร่โดยชาวฮอลันดาในช่วงเวลาต่อมา
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีทูตชาวฝรั่งเศสผู้มาเยือนกรุงศรีอยุธยา คือ นิโคลาส์ แชรแวส และ เดอ ลาลูแบร์ ต่างได้พรรณาว่าในเวลานั้นมะละกอได้กลายเป็นพืชพื้นเมืองชนิดหนึ่งของสยามไปแล้ว[1] และได้กล่าวถึง กระเทียม มะนาว มะม่วง กุ้งแห้ง ปลาร้า ปลากรอบ กล้วย น้ำตาล แตงกวา พริกไทย ถั่วชนิดต่างๆ ที่ล้วนสามารถใช้เป็นส่วนประกอบสำหรับปรุงส้มตำได้ ขณะเดียวกันได้เขียนว่า ในขณะนั้นสยามไม่มี กะหล่ำปลี และ ชาวสยามนิยมบริโภคข้าวสวย อย่างไรก็ตามไม่มีการกล่าวถึง มะเขือเทศ และ พริกสด แต่อย่างใด
ในปัจจุบัน ส้มตำเป็นอาหารที่แพร่หลายและนิยมรับประทานทุกภาคของประเทศไทย และยังเป็นอาหารไทยที่ขึ้นหน้าขึ้นตาต่อชาวโลกอีกด้วย

 ตำหมากหุ่ง: ส้มตำในประเทศลาว

ในภาษาลาวเรียกส้มตำว่าตำหมากหุ่ง (หมากหุ่งหมายถึงมะละกอ)เครื่องปรุงโดยทั่วไปประกอบด้วยมะละกอสับเป็นเส้น เกลือ ผงชูรส พริก กระเทียม น้ำตาล น้ำปลา น้ำปลาร้าหรือน้ำปลาแดก มะนาว ถั่วฝักยาว และอื่นๆ

 ส่วนประกอบส้มตำ


ส่วนประกอบหลักของส้มตำส่วนมากมีดังต่อไปนี้
  • มะละกอดิบ 1 ลูก
  • กระเทียม 5-6 กลีบ
  • พริกขี้หนู 5-6 เม็ด
  • มะเขือเทศผ่าครึ่ง 2 ลูก
  • ถั่วลิสงคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
  • ถั่วฝักยาวหั่น 1 ฝัก
  • น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
  • กุ้งแห้ง 2 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำมะนาว 1/4 ถ้วย
  • น้ำตาลปีป 1 ช้อนโต๊ะ
นำมาตำรวมกันหรือคลุกรวมกันจนเป็นส้มตำ หากรสชาติยังไม่ถูกปากสามารถเพิ่ม น้ำมะนาว น้ำตาลปี น้ำปลา ตามชอบ

ดัดแปลงเป็นการประยุกต์จากส้มตำปกติมาเป็นส้มตำในแบบของท้องถิ่นหรือตามชอบ

  • ส้มตำไทย ไม่ใส่ปูและปลาร้า แต่ใส่กุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่วแทน รสชาติออกหวานและเปรี้ยวนำ บางถิ่นอาจใส่ปูดองเค็มด้วย เรียกว่า ส้มตำไทยใส่ปู
  • ส้มตำปู ใส่ปูเค็มแทนกุ้งแห้งและถั่วลิสงคั่ว รสชาติออกเค็มนำ
  • ส้มตำปลาร้า ใส่ปลาร้าแทนกุ้งแห้ง นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน
  • ตำซั่ว ใส่ทั้งเส้นขนมจีนและเส้นมะละกอ นิยมรับประทานกันมากในภาคอีสาน
  • ตำป่า ใส่ผักหลายชนิด เช่น ผักกระเฉด ผักกาดดอง ปลากรอบ ถั่วลิสง ถั่วงอก ถั่วฝักยาว รวมถึงหอยแมลงภู่ จะนิยมรับประทานในภาคอีสาน
  • ตำโคราช ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและส้มตำปลาร้า คือใส่ทั้งกุ้งและปลาร้า
  • ส้มตำไข่เค็ม ใส่เครื่องปรุงผสมระหว่างส้มตำไทยและไข่เค็ม ไม่ใส่ปูดอง ทำให้ส้มตำมีน้ำข้น รสชาติกลมกล่อมพอดี เหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบส้มตำเผ็ดจัด
  • นอกจากนี้ ยังมีบางที่ นำเอาผักหรือผลไม้ดิบ อย่างเช่น มะม่วงดิบ ใส่แทนมะละกอดิบ เรียกว่า "ตำมะม่วง," กล้วยดิบ เรียกว่า "ตำกล้วย," แตงกวา เรียกว่า "ตำแตง," ถั่วฝักยาว เรียกว่า "ตำถั่ว," และแครอทดิบ เป็นต้น ถ้าใช้ผลไม้หลายๆ อย่างเรียกว่า ตำผลไม้
  • นอกจากนี้ยังมีการใส่วัตถุดิบอย่างอื่นลงไป เช่น ใส่ปูม้าเรียกว่า ส้มตำปูม้า ใส่หอยดองเรียกว่า ส้มตำหอยดอง

ปู

ปู เป็นสัตว์พวกเท้าปล้องชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมอาโทรโพดา มีลักษณะแปดขา มีหลายชนิดที่อยู่ทั้งปูน้ำจืดและปูทะเล
ปูในแนวปะการังมีหลายกลุ่มหลายรูปร่างโดยสัมพันธ์กับพฤติกรรม ปูหลายชนิดอาศัยตามพื้นทราย จะมีขาว่ายน้ำหรือกรรเชียงคล้ายปูม้า บางชนิดตัวใหญ่ มีกระดองแข็งคล้ายปูทะเล มีขาสั้นและแข็งแรงเพื่อเกาะยึดกับหิน เช่นปูใบ้ก้ามดำ [2]
ปูบางชนิดมีรูปร่างแปลกเพื่อพรางตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม บางชนิดมีสีและลักษณะกระดองเหมือนกัลปังหา ปะการังอ่อน หรือดาวขนนก ในจำนวนนี้ยังมีปูที่นำฟองน้ำหรือสาหร่ายมาติดตามตัวเพื่อใช้พรางกาย [2]
ปูกลุ่มหนึ่งที่มีวิวัฒนาการมากกว่ากลุ่มอื่นคือ ปูเสฉวนจะเปลี่ยนส่วนท้องให้นิ่มและขดงอเพื่อสามารถเข้าไปอยู่ในเปลือกหอย นำเปลือกหอยติดตัวไปด้วยตลอดเวลา [2]

 

บูชานักรบ

บูชานักรบ



ท่ารำ  เที่ยวแรก (หญิง)ขัดจางนาง(ชาย)จันทร์ทรงกลด
เที่ยวสอง (หญิง)ล่อแก้ว  (ชาย)ขอแก้ว


ตัวอย่างการรำเพลงบูชานักรบ






เนื้อเพลงบูชานักรบ

                                                                                                                    คำร้อง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม

                                                                                                                    ทำนอง ครูเอื้อ สุนทรสนาน

                                                                                                                    ท่ารำ   เที่ยวแรก (หญิง) ขัดจางนาง   (ชาย) จันทร์ทรงกลด

                                                                                                                                เที่ยวสอง (หญิง) ล่อแก้ว           (ชาย) ขอแก้ว


                                                                น้องรักรักบูชาพี่     ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญ

                                                เป็นนักสู้เชี่ยวชาญ                 สมศักดิ์ชาตินักรบ

                                                น้องรักรักบูชาพี่                     ที่มานะที่มานะอดทน

                                                หนักแสนหนักพี่ผจญ             เกียรติพี่ขจรจบ

                                                                น้องรักรักบูชาพี่     ที่ขยันที่ขยันกิจการ

                                                บากบั่นสร้างหลักฐาน            ทำทุกด้านทำทุกด้านครันครบ

                                                น้องรักรักบูชาพี่                     ที่รักชาติที่รักชาติยิ่งชีวิต

                                                เลือดเนื้อพี่พลีอุทิศ                 ชาติยงอยู่ยงอยู่คู่พิภพ



ความหมายเพลง


                        ความหมาย                 น้องรักและบูชาพี่ เพราะมีความกล้าหาญ เป็นนักสู้ที่เก่งกล้าสามารถสมกับเป็น

                                                        ชายชาตินักรบที่มีความมานะอดทน แม้ว่าจะยากเย็นแสนเข็ญ พี่ก็ต่อสู้จนชื่อเสียง

                                                        เลื่องลือไปทั่ว นอกจากนี้ยังขยันขันแข็งในงานทุก อย่าง อุตส่าห์สร้างหลักฐานให้

                                                        มั่นคง และพี่ยังมีความรักในชาติบ้านเมืองยิ่งกว่าชีวิต ยอมสละได้แม้ชีวิต และ

                                                        เลือดเนื้อเพื่อให้ชาติไทยคงอยู่คู่โลกต่อไป




อธิบายท่ารำ

เที่ยวที่ ๑ ท่าหญิง "ขัดจางนาง" ท่าชาย "จันทร์ทรงกลด"




น้องรัก


(หญิง) มือทั้งสองจีบคว่ำ

(ชาย) มือทั้งสองจีบคว่ำระดับวงกลาง

รักบูชาพี่

(หญิง) พลิกข้อมือเป็นจีบหงายไขว้กัน มือขวาทับซ้ายอยู่ระดับวงล่าง เอียงขวา

(ชาย) พลิกข้อมือเป็นจีบหงายระดับวงกลาง งอแขนเล็กน้อย


ที่มั่นคง

(หญิง) สลัดจีบเป็นมือแบหงายปลายนิ้วตก

(ชาย) สลัดจีบเป็นมือแบหงายปลายนิ้วตก ระดับวงกลาง


                                          ที่มั่นคงกล้าหาญ

                                          (หญิง) พลิกมือขึ้นตั้งวงล่าง มือยังไขว้กันอยู่เอียงซ้าย เป็นท่า"ขัดจางนาง"

                                          (ชาย) พลิกมือขึ้นตั้งวงกลาง เป็นท่า "จันทร์ทรงกลด"


การก้าวเท้า เท้าขวาก้าวข้าง ก้าวเท้าซ้ายไขว้ ก้าวเท้าขวา แล้วจรดจมูกเท้าซ้ายย่อเข่าลง จากนั้นเท้าซ้ายก้าวข้าง เท้าขวาก้าวไขว้ เท้าขวาจรดจมูกเท้าแล้วย่อเข่า ทำเช่นนี้สลับกันตามจังหวะ จนจบหนึ่งรอบ


เที่ยวที่ ๒ ท่าหญิง "ล่อแก้ว" ท่าชาย "ขอแก้ว"


น้องรักรักบูชาพี่

(หญิง) จังหวะที่ ๑ มือซ้ายเลื่อนขึ้นไปตั้งวงบน มือขวาจีบล่อแก้วคว่ำ แล้วเปลี่ยนเป็นจีบล่อแก้วหงาย หักข้อมือเข้าลำแขน แขนตึงต่ำกว่าไหล่เล็กน้อย

(ชาย) จังหวะที่ ๑ มือซ้ายตั้งวงบน มือขวาช้อนมือหมุนข้อมือไปทางนิ้วก้อย แล้วแบมือในลักษณะขอ โดยยื่นมือไปรับแก้วของหญิง แขนงอเล็กน้อย

ก้าวเท้าเหมือนกันโดยเท้าขวาหนักหลังก่อน เริ่มก้าวเท้าซ้าย ก้าวเท้าขวา เท้าซ้ายวางหลัง
ที่มั่นคงที่มั่นคงกล้าหาญ

หญิง) จังหวะที่ ๒ ปล่อยจีบล่อแก้วลงเป็นแบมือหงายปลายนิ้วตก แล้วยกขึ้นตั้งวงบน มือซ้ายจีบล่อแก้วคว่ำระดับวงบนแล้วเปลี่ยนเป็นจีบล่อแก้วหงาย

(ชาย) มือขวาเปลี่ยนไปเป็นตั้งวงบน มือซ้ายแบมือยื่นออกไปรับแก้วของหญิง

การก้าวเท้า เท้าซ้ายหนักหลังก่อน แล้วก้าวเท้าขวา ก้าวเท้าซ้าย เท้าขวาวางหลัง



'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''